สุกัญญา จันทะสูน สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ ๑๖ มกราคม ของทุกปี เป็น “วันครู” วันที่ผู้เขียน ผู้ซึ่งเป็นครูมาตั้งแต่เริ่มรับราชการต้องไปร่วมทำพิธีระลึกถึงคุณครู ไหว้บูรพาจารย์ทุกปี แต่เชื่อไหมว่า ตั้งแต่ได้ทำหน้าที่ เป็นศึกษานิเทศก์ใหม่ถอดด้ามครบสองปีในปีนี้แล้วนั้น ยังไม่ได้ไปร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้เลย ด้วยเหตุการณ์หลายอย่างที่ประดังเข้ามาในชีวิตทำให้แปลกแยกออกไปจากเดิม โดยเฉพาะในปีนี้ต้องเดินทางไปเป็นลูกศิษย์เข้ารับการอบรมที่ “โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา” หรือ ที่เขาเรียกกันว่า “โรงเรียนนอกกะลา” อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ มีอะไรให้ศึกษามากมาย มีเรื่องต่างๆ น่าสนใจมากจริงๆ
เริ่มตั้งแต่ สงสัยแล้วว่าทำไมจึงใช้ชื่อเรียก “โรงเรียนนอกกะลา” สอบถามดูได้ความว่า เกิดมาจาก
กรอบความคิดที่เห็นว่าการศึกษาของไทยเราที่เอาความรู้เป็นตัวตั้งและเป็นระบบแพ้คัดออก ทำให้มีเด็กเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถเรียนต่อไปในระดับที่สูงขึ้นหรือในระดับมหาวิทยาลัยได้ โอกาสแคบลง ในบางกระบวนการทางการศึกษายังเป็นการย่ายีคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กโดยการเปรียบเทียบหรือตีค่าแบ่งเกรดเด็ก เด็กเก่ง เด็กอ่อน การใช้ความกลัวกับความอยากเป็นเครื่องล่อคนไปสู่เป้าหมาย ยิ่งทาให้เด็กอ่อนแอในกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม หรือค่านิยมตามอย่าง เด็กอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เก่งด้านวิชาการจึงถูกทิ้งระหว่างทาง ทั้งที่ต่างก็มีศักยภาพด้านอื่นๆที่รอการงอกงาม ดังนั้น มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศล จึงก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่มีทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่างในการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างการเรียนรู้สำหรับมนุษย์โดยไม่ละทิ้งใครแม้แต่คนเดียว ซึ่งจะมีครู พ่อแม่ และชุมชนร่วมมือกันในการเกื้อหนุนให้เด็กทุกๆคนได้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและงอกงามได้ ตามศักยภาพตามความถนัดและตามความปรารถนาของตน เฉพาะหลักการที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปแล้วจึงได้ชื่อเรียกว่า “โรงเรียนนอกกะลา” เมื่อได้เข้าไปสังเกตการณ์การอบรม ครูอาสาสมัคร และครู กศน.ตำบล ทุกอำเภอ อำเภอละ ๔ คน ของสานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งศึกษานิเทศก์ทั้งสี่คน รวม ๔๐ ชีวิต เข้ารับการอบรม ๓ วัน ในวันแรกพบกับครูต๋อย(ครูพรรณทิพย์พา ทองมี) แนะนำความเป็นมาของโรงเรียน แล้วแบ่งเป็น ๒ กลุ่มละ ๒๐ คน กลุ่มแรก ครูต๋อยนำทีม อีกกลุ่มที่นำโดยครูพร (ครูศุภาพร เชื้อพระคา) เป็นไกด์แนะนำ พาแยกกันเดินทางไปโดยรอบๆ บริเวณอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร ที่ห้องเรียนเด็กเล็ก ซึ่งจัดเป็นลักษณะห้อง “หกเหลื่ยม” มีเหตุผลว่า เพื่อป้องกันมีเด็กหน้าห้อง และเด็กหลังห้อง ซึ่งนักเรียนจะนั่งเป็นกลุ่ม ล้อมวงเรียนกับคุณครู ดูสบายๆเป็นกันเอง
และบริเวณภายนอก ร่มรื่นด้วยต้นไม้มีมากมายทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล สมุนไพร ปลูกพืชผักสวนครัว มีการทำนา เลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ หมู ปลา และมีควาย ๒ ตัว ที่สะดุดตาเป็นอาคารลักษณะบ้านทรงไทยโบราณ มีใต้ถุนสูงสำหรับเป็นห้องเรียนเด็กโต ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเก้าอี้ไม้ การนั่งเรียนเป็นแบบธรรมชาติ ให้ความรู้สึกสบายๆเหมือนอยู่ภายในบ้านของเราเอง ใช้บริเวณบ้านทั้งหมด ชั้นบน และใต้ถุนบ้าน ไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยมเหมือนห้องเรียนทั่วๆไป ในอาคารหลังใหญ่ตามโรงเรียนต่างๆ ที่เคยเห็นกัน
เป็นที่สังเกตว่าบริเวณด้านหน้าห้อง บอร์ด ที่ว่างฝาพนังอาคารต่างๆ ทางเดิน แม้กระทั่งที่ผนังในห้องน้า จะเป็นผลงาน กิจกรรมของเด็กๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเขียน Mind Mapping ผังความคิดเรื่องราวต่างๆ จากการศึกษาค้นคว้า การ์ตูนช่องความรู้ต่างๆ ภาพวาดเรื่องราว รวมทั้งแผนการสอนของครู การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ผลงานเด็กทั้งสิ้น เป็นการถ่ายทอดแสดงองค์ความรู้ต่างๆ เห็นเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ทั้งสามวัน ได้รับความรู้หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่นี่ และได้การพัฒนาปัญญาภายในและภายนอก กิจกรรมที่มีประทับใจพวกเรามาก เช่น การฝึกกิจกรรมจิตศึกษา /การฝึกโยคะสร้างสมาธิ/การทำ Body scan การบริหารจิต/ บริหารกาย /บริหารสมองทั้งสองข้าง/ การเรียนรู้แบบ PBL/ การดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่างๆ ที่สะท้อนการทำงาน ปลูกฝังการเป็นครูที่ดี สาหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ผอ.วิเชียร ไชยบัง ก็ยังได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ และตอบคำถามข้อสงสัยต่างๆ อย่างเป็นกันเองนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของพวกเราเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสพูดคุยกับท่านซึ่งมีอุดมการณ์ในการจัดการเรียนการสอนเช่นนี้ เมื่อศึกษาถึงเจตนารมณ์ในการก่อตั้งโรงเรียนเพื่อเป็นแบบอย่าง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเพื่อให้เด็กในชนบท มีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่ากับเด็กในเมืองเพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคต ดังนี้ (ที่มา http://www.lpmp.org/index)
1.ออกแบบการพัฒนาผู้เรียนอย่างองค์รวม เพื่อให้บรรลุทั้ง 4 ด้านด้านอารมณ์ ด้านจิตวิญญาณ ด้านสติปัญญาและความคิด ด้านร่างกาย จึงได้ออกแบบตารางเรียนเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงเช้า เน้นการพัฒนา ความฉลาดทาง ด้านอารมณ์ (EQ) และจิตวิญญาณ (SQ) ช่วงสาย เน้นการพัฒนาความฉลาดทาง ด้านสติปัญญา (IQ) ช่วงบ่าย เน้นการพัฒนาความฉลาดทาง ด้านร่างกาย (PQ)
2. พัฒนารูปแบบการบริหาร ใช้การบริหารแบบองค์รวม มีระบบโครงสร้างการบริหารงานเป็นกลุ่มงาน คณะครูร่วมกันคิดและตัดสินใจร่วมกัน เน้นการทำให้องค์กรเป็นองค์กร แห่งความสุข เป็นองค์กรมีชีวิตและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถจัดการความรู้จากข้างนอกและข้างใน เพื่อนาพาองค์กรไปสู่ความสาเร็จได้
3. พัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชน พัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจการศึกษา มากขึ้นและเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างกิจกรรมมีการ ออกแบบให้ผู้ปกครองเป็นผู้วางแผน
และจัดกิจกรรมโรงเรียนเอง อาทิเช่น กีฬาสี บุญคูณลาน ไหว้ครู ปัจฉิมนิเทศ แห่เทียนพรรษาบวชภาคฤดูร้อน เป็นต้น จัดประชุมผู้ปกครองเป็นประจำ อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้งจัดกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ปกครองใหม่ จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองประจำปี เพื่อสร้างความเข้าใจยิ่งขึ้น
4. พัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างองค์กร/บุคคลแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างองค์รวม
4.1 กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้และการสอนการเรียนรู้ทำให้บุคคลงอกงามทั้งผู้เรียนและครู การเรียนรู้มีความหมายมากกว่าการและการสอนที่ดีต้องมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
4.2 ใช้จิตวิทยาใหม่ที่เน้นการปลูกฝัง สิ่งที่ดีงามในจิตใต้สานึกลดการหลั่งสาร cortical ซึ่งเป็นสารยับยั้งการเรียนรู้โดย ลด การเปรียบเทียบระหว่างบุคคล คำพูดด้านลบ ความกลัว ใช้ความรุนแรง ยัดเยียดความรู้ สร้าง บรรยากาศการเรียนรู้ ภาพพจน์ด้านบวก จูงใจมิใช่บังคับ ให้ความรัก ให้พลัง
4.3 วิชาจิตศึกษาเน้นการเรียนรู้ด้านใน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ(SQ)เกิดความเข้าใจชีวิต เห็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมของสิ่งต่างๆกับมนุษย์การปลูกฝังค่านิยม เชิงลึกในจิตใต้สานึกและจัดกิจกรรมพัฒนา คลื่นสมองตำ (Low Brain Wave Learning) เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมกับการเรียนรู้
4.4 กิจกรรมพัฒนาการคิด (Thinking Skills)และเครื่องมือคิดระดับของการคิดแบ่งเป็นดังนี้
- ระดับต้น – วิเคราะห์ สังเคราะห์ มโนทัศน์ และวิจารณญาณ
- ระดับสูง – จินตนาการ และ คิดสร้างสรรค์
- ระดับสูงสุด – การคิดเชิงอนาคต คือ Vision
- การคิดเชิงกำกับ Meta cognition
พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอย่างมีเป้าหมาย ทำอย่างต่อเนื่อง จนมีคุณภาพสูง ได้แก่ วิสัยทัศน์องค์กรและส่วนบุคคล กรอบความคิดบวก การทำงานเป็นทีม ทักษะการสอน การร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กร การก้าวสู่เป็นครูมืออาชีพ และ เป็นนักจัดกิจกรรม
จุดเด่นที่โรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา คือ เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอน ไม่มีเสียงระฆัง ไม่มีดาวให้ผู้เรียน ไม่ต้องใช้แบบเรียน ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง ไม่ได้จัดลำดับความสามารถผู้เรียน โรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด โรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนร่วมกับลูก โรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนอย่างมีความสุข จากคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดูเป็นโรงเรียนที่สร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ เน้นการเรียนที่มีความสุข การได้ร่วมเรียนรู้กับครอบครัว กับชุมชน “ทุกคนมีบทบาทร่วมกันสร้างสรรค์เด็กให้เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพชีวิต มีทักษะต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เน้นการเป็นคนดีของสังคมมากที่สุด” ในปีนี้ 2556 นับเป็นปีที่โรงเรียนมีอายุ 10 ขวบปี แล้ว มีผลงานสร้างสรรค์ของเด็กๆ มากมาย มีผู้มาศึกษาดูงาน เข้ารับการอบรม ศึกษาวิจัย และอีกหลากหลายรูปแบบ เงินรายได้ก็จะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ทั้งค่า เล่าเรียน วัสดุอุปกรณ์ อาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็น ของเด็กๆ ที่โรงเรียนนี้ นี่แหละที่เราใช้คำพูดว่า “เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีปาฏิหาริย์ในการสร้างสรรค์ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” เห็นได้เป็นเชิงประจักษ์จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ ต้องขอขอบคุณ ผอ.สุรพงศ์ ไชยวงษ์ ผู้อำนวยการสานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ให้โอกาสได้ไปร่วมเรียนรู้ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ในครั้งนี้ ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจริงๆ และขอเสนอแนะว่า ในฐานะที่พวกเราเป็น ตัวแทน ครู กศน. ทั้ง ๔๐ ชีวิต ได้มีโอกาสอันดีกว่าคนอื่น ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนที่ได้ร่วมเรียนรู้ เข้ารับการอบรมไปอย่างดีในหลายๆ เรื่อง ที่โรงเรียนนอกกะลาแห่งนี้ แม้จะเป็นเวลาเพียงแค่ ๓ วัน แต่ก็เป็นสามวันที่มีคุณค่า ทาให้เราต้องรีบทบทวนการทางานที่ผ่านมาแล้วว่า ความเป็นครู กศน.ของเราควรจะได้รับการพัฒนาหรือไม่ พวกเราทั้งหลายจะนำความรู้ที่ได้รับ ประสบการณ์ที่ได้ร่วมเรียนรู้ ไปแล้วนั้น ไปประยุกต์ใช้พัฒนาการทำงานอย่างไรได้บ้าง ในที่นี้ขอโอกาสเสนอแนะไว้ ดังนี้
๑. ขอให้ทบทวนและสรุปบทเรียนเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับแต่ละวันที่เข้ารับการอบรมนั้น ว่าเราทำอะไรกันบ้าง ได้รับความรู้ในเรื่องอะไร ที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อองค์กร เพื่อเผยแพร่ให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในหน่วยงานของท่านได้ทราบถึงการดำเนินงานของ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อให้ทุกคนพอมองเห็นภาพองค์รวมของการดำเนินงานที่โรงเรียนแห่งนี้
๒. ดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับอาจจะทำในรูปเผยแพร่บน web ทำเป็นสรุปรายงาน เป็นเอกสาร เป็นซีดี เป็นภาพถ่ายกิจกรรม และความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา อาจจัดในรูปจัดอบรม ประชุม ชี้แจง ฯลฯ ให้บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ได้ประสบการณ์ใกล้เคียงกัน
๓. ร่วมกันคิดและพิจารณาคัดเลือกองค์ความรู้ กิจกรรมต่างๆ เช่น ตัวอย่างการแผนการเรียนรู้ /การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ในแต่ละสาระการเรียนรู้ แต่ละวิชา / การบูรณาการวิชาต่างๆ /การเรียนรู้แบบ PBL /กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมจิตศึกษา/ การพัฒนาสมอง /การพัฒนาปัญญาภายใน/ ปัญญาภายนอก ฯลฯ ที่คิดว่าเหมาะสมนำไปประยุกต์ให้เข้ากับความเป็น กศน.ของเรา เพื่อนำมาออกแบบการเรียนรู้ ทดลองจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา นำสิ่งต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
๔. วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามองค์ความรู้ที่ได้คัดเลือกและออกแบบการเรียนรู้แล้ว นำมาจัดโครงการ จัดกิจกรรมต่างๆ ทุกกิจกรรม ทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะให้แก่นักศึกษา พยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของนักศึกษา กศน. เชื่อว่าการพบกลุ่มในครั้งต่อๆไป จะมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น กิจกรรม กศน.อำเภอ มีความเคลื่อนไหวพัฒนาไปในทางที่ดี
๕. ประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่าเกิดผลดีแก่นักศึกษา กศน.เพิ่มขึ้นหรือไม่ เกิดปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง แก้ไขปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอเผยแพร่กิจกรรมที่จัดได้อย่างน่าสนใจต่อไป
สุกัญญา จันทะสูน สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก
ที่มา http://202.143.132.210/plk/UserFiles/File/Sukanya/2556/2556-08-26.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น