การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ของ คณะครู ผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านขุนแปะ จ.เชียงใหม่ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อลูกหลาน
Professional Learning Community ( PLC) ร่วมสร้างชุมชนเเห่งการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้
วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557
PLC ครู | โรงเรียนบ้านปะทาย
PLC ชุมชนการเรียนรู้ครูนักปฏิบัติ จุดประกายก่อให้เกิดปัญญาปฏิบัติได้จริงๆ ขอบคุณวงแลกเปลี่ยนที่เข้มแข็ง
วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ปาฏิหาริย์ ช่างสร้างสรรค์ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ร่วมเรียนรู้ที่ “โรงเรียนนอกกะลา” ปาฏิหาริย์ ช่างสร้างสรรค์ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
สุกัญญา จันทะสูน สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ ๑๖ มกราคม ของทุกปี เป็น “วันครู” วันที่ผู้เขียน ผู้ซึ่งเป็นครูมาตั้งแต่เริ่มรับราชการต้องไปร่วมทำพิธีระลึกถึงคุณครู ไหว้บูรพาจารย์ทุกปี แต่เชื่อไหมว่า ตั้งแต่ได้ทำหน้าที่ เป็นศึกษานิเทศก์ใหม่ถอดด้ามครบสองปีในปีนี้แล้วนั้น ยังไม่ได้ไปร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้เลย ด้วยเหตุการณ์หลายอย่างที่ประดังเข้ามาในชีวิตทำให้แปลกแยกออกไปจากเดิม โดยเฉพาะในปีนี้ต้องเดินทางไปเป็นลูกศิษย์เข้ารับการอบรมที่ “โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา” หรือ ที่เขาเรียกกันว่า “โรงเรียนนอกกะลา” อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ มีอะไรให้ศึกษามากมาย มีเรื่องต่างๆ น่าสนใจมากจริงๆ
เริ่มตั้งแต่ สงสัยแล้วว่าทำไมจึงใช้ชื่อเรียก “โรงเรียนนอกกะลา” สอบถามดูได้ความว่า เกิดมาจาก
กรอบความคิดที่เห็นว่าการศึกษาของไทยเราที่เอาความรู้เป็นตัวตั้งและเป็นระบบแพ้คัดออก ทำให้มีเด็กเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถเรียนต่อไปในระดับที่สูงขึ้นหรือในระดับมหาวิทยาลัยได้ โอกาสแคบลง ในบางกระบวนการทางการศึกษายังเป็นการย่ายีคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กโดยการเปรียบเทียบหรือตีค่าแบ่งเกรดเด็ก เด็กเก่ง เด็กอ่อน การใช้ความกลัวกับความอยากเป็นเครื่องล่อคนไปสู่เป้าหมาย ยิ่งทาให้เด็กอ่อนแอในกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม หรือค่านิยมตามอย่าง เด็กอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เก่งด้านวิชาการจึงถูกทิ้งระหว่างทาง ทั้งที่ต่างก็มีศักยภาพด้านอื่นๆที่รอการงอกงาม ดังนั้น มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศล จึงก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่มีทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่างในการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างการเรียนรู้สำหรับมนุษย์โดยไม่ละทิ้งใครแม้แต่คนเดียว ซึ่งจะมีครู พ่อแม่ และชุมชนร่วมมือกันในการเกื้อหนุนให้เด็กทุกๆคนได้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและงอกงามได้ ตามศักยภาพตามความถนัดและตามความปรารถนาของตน เฉพาะหลักการที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปแล้วจึงได้ชื่อเรียกว่า “โรงเรียนนอกกะลา” เมื่อได้เข้าไปสังเกตการณ์การอบรม ครูอาสาสมัคร และครู กศน.ตำบล ทุกอำเภอ อำเภอละ ๔ คน ของสานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งศึกษานิเทศก์ทั้งสี่คน รวม ๔๐ ชีวิต เข้ารับการอบรม ๓ วัน ในวันแรกพบกับครูต๋อย(ครูพรรณทิพย์พา ทองมี) แนะนำความเป็นมาของโรงเรียน แล้วแบ่งเป็น ๒ กลุ่มละ ๒๐ คน กลุ่มแรก ครูต๋อยนำทีม อีกกลุ่มที่นำโดยครูพร (ครูศุภาพร เชื้อพระคา) เป็นไกด์แนะนำ พาแยกกันเดินทางไปโดยรอบๆ บริเวณอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร ที่ห้องเรียนเด็กเล็ก ซึ่งจัดเป็นลักษณะห้อง “หกเหลื่ยม” มีเหตุผลว่า เพื่อป้องกันมีเด็กหน้าห้อง และเด็กหลังห้อง ซึ่งนักเรียนจะนั่งเป็นกลุ่ม ล้อมวงเรียนกับคุณครู ดูสบายๆเป็นกันเอง
และบริเวณภายนอก ร่มรื่นด้วยต้นไม้มีมากมายทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล สมุนไพร ปลูกพืชผักสวนครัว มีการทำนา เลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ หมู ปลา และมีควาย ๒ ตัว ที่สะดุดตาเป็นอาคารลักษณะบ้านทรงไทยโบราณ มีใต้ถุนสูงสำหรับเป็นห้องเรียนเด็กโต ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเก้าอี้ไม้ การนั่งเรียนเป็นแบบธรรมชาติ ให้ความรู้สึกสบายๆเหมือนอยู่ภายในบ้านของเราเอง ใช้บริเวณบ้านทั้งหมด ชั้นบน และใต้ถุนบ้าน ไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยมเหมือนห้องเรียนทั่วๆไป ในอาคารหลังใหญ่ตามโรงเรียนต่างๆ ที่เคยเห็นกัน
เป็นที่สังเกตว่าบริเวณด้านหน้าห้อง บอร์ด ที่ว่างฝาพนังอาคารต่างๆ ทางเดิน แม้กระทั่งที่ผนังในห้องน้า จะเป็นผลงาน กิจกรรมของเด็กๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเขียน Mind Mapping ผังความคิดเรื่องราวต่างๆ จากการศึกษาค้นคว้า การ์ตูนช่องความรู้ต่างๆ ภาพวาดเรื่องราว รวมทั้งแผนการสอนของครู การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ผลงานเด็กทั้งสิ้น เป็นการถ่ายทอดแสดงองค์ความรู้ต่างๆ เห็นเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ทั้งสามวัน ได้รับความรู้หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่นี่ และได้การพัฒนาปัญญาภายในและภายนอก กิจกรรมที่มีประทับใจพวกเรามาก เช่น การฝึกกิจกรรมจิตศึกษา /การฝึกโยคะสร้างสมาธิ/การทำ Body scan การบริหารจิต/ บริหารกาย /บริหารสมองทั้งสองข้าง/ การเรียนรู้แบบ PBL/ การดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่างๆ ที่สะท้อนการทำงาน ปลูกฝังการเป็นครูที่ดี สาหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ผอ.วิเชียร ไชยบัง ก็ยังได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ และตอบคำถามข้อสงสัยต่างๆ อย่างเป็นกันเองนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของพวกเราเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสพูดคุยกับท่านซึ่งมีอุดมการณ์ในการจัดการเรียนการสอนเช่นนี้ เมื่อศึกษาถึงเจตนารมณ์ในการก่อตั้งโรงเรียนเพื่อเป็นแบบอย่าง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเพื่อให้เด็กในชนบท มีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่ากับเด็กในเมืองเพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคต ดังนี้ (ที่มา http://www.lpmp.org/index)
1.ออกแบบการพัฒนาผู้เรียนอย่างองค์รวม เพื่อให้บรรลุทั้ง 4 ด้านด้านอารมณ์ ด้านจิตวิญญาณ ด้านสติปัญญาและความคิด ด้านร่างกาย จึงได้ออกแบบตารางเรียนเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงเช้า เน้นการพัฒนา ความฉลาดทาง ด้านอารมณ์ (EQ) และจิตวิญญาณ (SQ) ช่วงสาย เน้นการพัฒนาความฉลาดทาง ด้านสติปัญญา (IQ) ช่วงบ่าย เน้นการพัฒนาความฉลาดทาง ด้านร่างกาย (PQ)
2. พัฒนารูปแบบการบริหาร ใช้การบริหารแบบองค์รวม มีระบบโครงสร้างการบริหารงานเป็นกลุ่มงาน คณะครูร่วมกันคิดและตัดสินใจร่วมกัน เน้นการทำให้องค์กรเป็นองค์กร แห่งความสุข เป็นองค์กรมีชีวิตและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถจัดการความรู้จากข้างนอกและข้างใน เพื่อนาพาองค์กรไปสู่ความสาเร็จได้
3. พัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชน พัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจการศึกษา มากขึ้นและเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างกิจกรรมมีการ ออกแบบให้ผู้ปกครองเป็นผู้วางแผน
และจัดกิจกรรมโรงเรียนเอง อาทิเช่น กีฬาสี บุญคูณลาน ไหว้ครู ปัจฉิมนิเทศ แห่เทียนพรรษาบวชภาคฤดูร้อน เป็นต้น จัดประชุมผู้ปกครองเป็นประจำ อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้งจัดกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ปกครองใหม่ จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองประจำปี เพื่อสร้างความเข้าใจยิ่งขึ้น
4. พัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างองค์กร/บุคคลแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างองค์รวม
4.1 กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้และการสอนการเรียนรู้ทำให้บุคคลงอกงามทั้งผู้เรียนและครู การเรียนรู้มีความหมายมากกว่าการและการสอนที่ดีต้องมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
4.2 ใช้จิตวิทยาใหม่ที่เน้นการปลูกฝัง สิ่งที่ดีงามในจิตใต้สานึกลดการหลั่งสาร cortical ซึ่งเป็นสารยับยั้งการเรียนรู้โดย ลด การเปรียบเทียบระหว่างบุคคล คำพูดด้านลบ ความกลัว ใช้ความรุนแรง ยัดเยียดความรู้ สร้าง บรรยากาศการเรียนรู้ ภาพพจน์ด้านบวก จูงใจมิใช่บังคับ ให้ความรัก ให้พลัง
4.3 วิชาจิตศึกษาเน้นการเรียนรู้ด้านใน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ(SQ)เกิดความเข้าใจชีวิต เห็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมของสิ่งต่างๆกับมนุษย์การปลูกฝังค่านิยม เชิงลึกในจิตใต้สานึกและจัดกิจกรรมพัฒนา คลื่นสมองตำ (Low Brain Wave Learning) เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมกับการเรียนรู้
4.4 กิจกรรมพัฒนาการคิด (Thinking Skills)และเครื่องมือคิดระดับของการคิดแบ่งเป็นดังนี้
พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอย่างมีเป้าหมาย ทำอย่างต่อเนื่อง จนมีคุณภาพสูง ได้แก่ วิสัยทัศน์องค์กรและส่วนบุคคล กรอบความคิดบวก การทำงานเป็นทีม ทักษะการสอน การร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กร การก้าวสู่เป็นครูมืออาชีพ และ เป็นนักจัดกิจกรรม
จุดเด่นที่โรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา คือ เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอน ไม่มีเสียงระฆัง ไม่มีดาวให้ผู้เรียน ไม่ต้องใช้แบบเรียน ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง ไม่ได้จัดลำดับความสามารถผู้เรียน โรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด โรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนร่วมกับลูก โรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนอย่างมีความสุข จากคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดูเป็นโรงเรียนที่สร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ เน้นการเรียนที่มีความสุข การได้ร่วมเรียนรู้กับครอบครัว กับชุมชน “ทุกคนมีบทบาทร่วมกันสร้างสรรค์เด็กให้เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพชีวิต มีทักษะต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เน้นการเป็นคนดีของสังคมมากที่สุด” ในปีนี้ 2556 นับเป็นปีที่โรงเรียนมีอายุ 10 ขวบปี แล้ว มีผลงานสร้างสรรค์ของเด็กๆ มากมาย มีผู้มาศึกษาดูงาน เข้ารับการอบรม ศึกษาวิจัย และอีกหลากหลายรูปแบบ เงินรายได้ก็จะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ทั้งค่า เล่าเรียน วัสดุอุปกรณ์ อาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็น ของเด็กๆ ที่โรงเรียนนี้ นี่แหละที่เราใช้คำพูดว่า “เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีปาฏิหาริย์ในการสร้างสรรค์ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” เห็นได้เป็นเชิงประจักษ์จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ ต้องขอขอบคุณ ผอ.สุรพงศ์ ไชยวงษ์ ผู้อำนวยการสานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ให้โอกาสได้ไปร่วมเรียนรู้ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ในครั้งนี้ ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจริงๆ และขอเสนอแนะว่า ในฐานะที่พวกเราเป็น ตัวแทน ครู กศน. ทั้ง ๔๐ ชีวิต ได้มีโอกาสอันดีกว่าคนอื่น ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนที่ได้ร่วมเรียนรู้ เข้ารับการอบรมไปอย่างดีในหลายๆ เรื่อง ที่โรงเรียนนอกกะลาแห่งนี้ แม้จะเป็นเวลาเพียงแค่ ๓ วัน แต่ก็เป็นสามวันที่มีคุณค่า ทาให้เราต้องรีบทบทวนการทางานที่ผ่านมาแล้วว่า ความเป็นครู กศน.ของเราควรจะได้รับการพัฒนาหรือไม่ พวกเราทั้งหลายจะนำความรู้ที่ได้รับ ประสบการณ์ที่ได้ร่วมเรียนรู้ ไปแล้วนั้น ไปประยุกต์ใช้พัฒนาการทำงานอย่างไรได้บ้าง ในที่นี้ขอโอกาสเสนอแนะไว้ ดังนี้
๑. ขอให้ทบทวนและสรุปบทเรียนเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับแต่ละวันที่เข้ารับการอบรมนั้น ว่าเราทำอะไรกันบ้าง ได้รับความรู้ในเรื่องอะไร ที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อองค์กร เพื่อเผยแพร่ให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในหน่วยงานของท่านได้ทราบถึงการดำเนินงานของ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อให้ทุกคนพอมองเห็นภาพองค์รวมของการดำเนินงานที่โรงเรียนแห่งนี้
๒. ดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับอาจจะทำในรูปเผยแพร่บน web ทำเป็นสรุปรายงาน เป็นเอกสาร เป็นซีดี เป็นภาพถ่ายกิจกรรม และความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา อาจจัดในรูปจัดอบรม ประชุม ชี้แจง ฯลฯ ให้บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ได้ประสบการณ์ใกล้เคียงกัน
๓. ร่วมกันคิดและพิจารณาคัดเลือกองค์ความรู้ กิจกรรมต่างๆ เช่น ตัวอย่างการแผนการเรียนรู้ /การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ในแต่ละสาระการเรียนรู้ แต่ละวิชา / การบูรณาการวิชาต่างๆ /การเรียนรู้แบบ PBL /กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมจิตศึกษา/ การพัฒนาสมอง /การพัฒนาปัญญาภายใน/ ปัญญาภายนอก ฯลฯ ที่คิดว่าเหมาะสมนำไปประยุกต์ให้เข้ากับความเป็น กศน.ของเรา เพื่อนำมาออกแบบการเรียนรู้ ทดลองจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา นำสิ่งต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
๔. วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามองค์ความรู้ที่ได้คัดเลือกและออกแบบการเรียนรู้แล้ว นำมาจัดโครงการ จัดกิจกรรมต่างๆ ทุกกิจกรรม ทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะให้แก่นักศึกษา พยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของนักศึกษา กศน. เชื่อว่าการพบกลุ่มในครั้งต่อๆไป จะมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น กิจกรรม กศน.อำเภอ มีความเคลื่อนไหวพัฒนาไปในทางที่ดี
๕. ประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่าเกิดผลดีแก่นักศึกษา กศน.เพิ่มขึ้นหรือไม่ เกิดปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง แก้ไขปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอเผยแพร่กิจกรรมที่จัดได้อย่างน่าสนใจต่อไป
สุกัญญา จันทะสูน สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก
ที่มา http://202.143.132.210/plk/UserFiles/File/Sukanya/2556/2556-08-26.pdf
สุกัญญา จันทะสูน สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ ๑๖ มกราคม ของทุกปี เป็น “วันครู” วันที่ผู้เขียน ผู้ซึ่งเป็นครูมาตั้งแต่เริ่มรับราชการต้องไปร่วมทำพิธีระลึกถึงคุณครู ไหว้บูรพาจารย์ทุกปี แต่เชื่อไหมว่า ตั้งแต่ได้ทำหน้าที่ เป็นศึกษานิเทศก์ใหม่ถอดด้ามครบสองปีในปีนี้แล้วนั้น ยังไม่ได้ไปร่วมพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้เลย ด้วยเหตุการณ์หลายอย่างที่ประดังเข้ามาในชีวิตทำให้แปลกแยกออกไปจากเดิม โดยเฉพาะในปีนี้ต้องเดินทางไปเป็นลูกศิษย์เข้ารับการอบรมที่ “โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา” หรือ ที่เขาเรียกกันว่า “โรงเรียนนอกกะลา” อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ มีอะไรให้ศึกษามากมาย มีเรื่องต่างๆ น่าสนใจมากจริงๆ
เริ่มตั้งแต่ สงสัยแล้วว่าทำไมจึงใช้ชื่อเรียก “โรงเรียนนอกกะลา” สอบถามดูได้ความว่า เกิดมาจาก
กรอบความคิดที่เห็นว่าการศึกษาของไทยเราที่เอาความรู้เป็นตัวตั้งและเป็นระบบแพ้คัดออก ทำให้มีเด็กเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะสามารถเรียนต่อไปในระดับที่สูงขึ้นหรือในระดับมหาวิทยาลัยได้ โอกาสแคบลง ในบางกระบวนการทางการศึกษายังเป็นการย่ายีคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็กโดยการเปรียบเทียบหรือตีค่าแบ่งเกรดเด็ก เด็กเก่ง เด็กอ่อน การใช้ความกลัวกับความอยากเป็นเครื่องล่อคนไปสู่เป้าหมาย ยิ่งทาให้เด็กอ่อนแอในกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม หรือค่านิยมตามอย่าง เด็กอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เก่งด้านวิชาการจึงถูกทิ้งระหว่างทาง ทั้งที่ต่างก็มีศักยภาพด้านอื่นๆที่รอการงอกงาม ดังนั้น มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศล จึงก่อตั้งโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่มีทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่างในการจัดการศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง สร้างการเรียนรู้สำหรับมนุษย์โดยไม่ละทิ้งใครแม้แต่คนเดียว ซึ่งจะมีครู พ่อแม่ และชุมชนร่วมมือกันในการเกื้อหนุนให้เด็กทุกๆคนได้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและงอกงามได้ ตามศักยภาพตามความถนัดและตามความปรารถนาของตน เฉพาะหลักการที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปแล้วจึงได้ชื่อเรียกว่า “โรงเรียนนอกกะลา” เมื่อได้เข้าไปสังเกตการณ์การอบรม ครูอาสาสมัคร และครู กศน.ตำบล ทุกอำเภอ อำเภอละ ๔ คน ของสานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก รวมทั้งศึกษานิเทศก์ทั้งสี่คน รวม ๔๐ ชีวิต เข้ารับการอบรม ๓ วัน ในวันแรกพบกับครูต๋อย(ครูพรรณทิพย์พา ทองมี) แนะนำความเป็นมาของโรงเรียน แล้วแบ่งเป็น ๒ กลุ่มละ ๒๐ คน กลุ่มแรก ครูต๋อยนำทีม อีกกลุ่มที่นำโดยครูพร (ครูศุภาพร เชื้อพระคา) เป็นไกด์แนะนำ พาแยกกันเดินทางไปโดยรอบๆ บริเวณอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร ที่ห้องเรียนเด็กเล็ก ซึ่งจัดเป็นลักษณะห้อง “หกเหลื่ยม” มีเหตุผลว่า เพื่อป้องกันมีเด็กหน้าห้อง และเด็กหลังห้อง ซึ่งนักเรียนจะนั่งเป็นกลุ่ม ล้อมวงเรียนกับคุณครู ดูสบายๆเป็นกันเอง
และบริเวณภายนอก ร่มรื่นด้วยต้นไม้มีมากมายทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ผล สมุนไพร ปลูกพืชผักสวนครัว มีการทำนา เลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ หมู ปลา และมีควาย ๒ ตัว ที่สะดุดตาเป็นอาคารลักษณะบ้านทรงไทยโบราณ มีใต้ถุนสูงสำหรับเป็นห้องเรียนเด็กโต ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเก้าอี้ไม้ การนั่งเรียนเป็นแบบธรรมชาติ ให้ความรู้สึกสบายๆเหมือนอยู่ภายในบ้านของเราเอง ใช้บริเวณบ้านทั้งหมด ชั้นบน และใต้ถุนบ้าน ไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยมเหมือนห้องเรียนทั่วๆไป ในอาคารหลังใหญ่ตามโรงเรียนต่างๆ ที่เคยเห็นกัน
เป็นที่สังเกตว่าบริเวณด้านหน้าห้อง บอร์ด ที่ว่างฝาพนังอาคารต่างๆ ทางเดิน แม้กระทั่งที่ผนังในห้องน้า จะเป็นผลงาน กิจกรรมของเด็กๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเขียน Mind Mapping ผังความคิดเรื่องราวต่างๆ จากการศึกษาค้นคว้า การ์ตูนช่องความรู้ต่างๆ ภาพวาดเรื่องราว รวมทั้งแผนการสอนของครู การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ผลงานเด็กทั้งสิ้น เป็นการถ่ายทอดแสดงองค์ความรู้ต่างๆ เห็นเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ทั้งสามวัน ได้รับความรู้หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่นี่ และได้การพัฒนาปัญญาภายในและภายนอก กิจกรรมที่มีประทับใจพวกเรามาก เช่น การฝึกกิจกรรมจิตศึกษา /การฝึกโยคะสร้างสมาธิ/การทำ Body scan การบริหารจิต/ บริหารกาย /บริหารสมองทั้งสองข้าง/ การเรียนรู้แบบ PBL/ การดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่างๆ ที่สะท้อนการทำงาน ปลูกฝังการเป็นครูที่ดี สาหรับผู้อำนวยการโรงเรียน ผอ.วิเชียร ไชยบัง ก็ยังได้มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ และตอบคำถามข้อสงสัยต่างๆ อย่างเป็นกันเองนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของพวกเราเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสพูดคุยกับท่านซึ่งมีอุดมการณ์ในการจัดการเรียนการสอนเช่นนี้ เมื่อศึกษาถึงเจตนารมณ์ในการก่อตั้งโรงเรียนเพื่อเป็นแบบอย่าง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเพื่อให้เด็กในชนบท มีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่ากับเด็กในเมืองเพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาในอนาคต ดังนี้ (ที่มา http://www.lpmp.org/index)
1.ออกแบบการพัฒนาผู้เรียนอย่างองค์รวม เพื่อให้บรรลุทั้ง 4 ด้านด้านอารมณ์ ด้านจิตวิญญาณ ด้านสติปัญญาและความคิด ด้านร่างกาย จึงได้ออกแบบตารางเรียนเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงเช้า เน้นการพัฒนา ความฉลาดทาง ด้านอารมณ์ (EQ) และจิตวิญญาณ (SQ) ช่วงสาย เน้นการพัฒนาความฉลาดทาง ด้านสติปัญญา (IQ) ช่วงบ่าย เน้นการพัฒนาความฉลาดทาง ด้านร่างกาย (PQ)
2. พัฒนารูปแบบการบริหาร ใช้การบริหารแบบองค์รวม มีระบบโครงสร้างการบริหารงานเป็นกลุ่มงาน คณะครูร่วมกันคิดและตัดสินใจร่วมกัน เน้นการทำให้องค์กรเป็นองค์กร แห่งความสุข เป็นองค์กรมีชีวิตและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถจัดการความรู้จากข้างนอกและข้างใน เพื่อนาพาองค์กรไปสู่ความสาเร็จได้
3. พัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชน พัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจการศึกษา มากขึ้นและเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างกิจกรรมมีการ ออกแบบให้ผู้ปกครองเป็นผู้วางแผน
และจัดกิจกรรมโรงเรียนเอง อาทิเช่น กีฬาสี บุญคูณลาน ไหว้ครู ปัจฉิมนิเทศ แห่เทียนพรรษาบวชภาคฤดูร้อน เป็นต้น จัดประชุมผู้ปกครองเป็นประจำ อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้งจัดกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ปกครองใหม่ จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองประจำปี เพื่อสร้างความเข้าใจยิ่งขึ้น
4. พัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างองค์กร/บุคคลแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างองค์รวม
4.1 กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้และการสอนการเรียนรู้ทำให้บุคคลงอกงามทั้งผู้เรียนและครู การเรียนรู้มีความหมายมากกว่าการและการสอนที่ดีต้องมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
4.2 ใช้จิตวิทยาใหม่ที่เน้นการปลูกฝัง สิ่งที่ดีงามในจิตใต้สานึกลดการหลั่งสาร cortical ซึ่งเป็นสารยับยั้งการเรียนรู้โดย ลด การเปรียบเทียบระหว่างบุคคล คำพูดด้านลบ ความกลัว ใช้ความรุนแรง ยัดเยียดความรู้ สร้าง บรรยากาศการเรียนรู้ ภาพพจน์ด้านบวก จูงใจมิใช่บังคับ ให้ความรัก ให้พลัง
4.3 วิชาจิตศึกษาเน้นการเรียนรู้ด้านใน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ(SQ)เกิดความเข้าใจชีวิต เห็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมของสิ่งต่างๆกับมนุษย์การปลูกฝังค่านิยม เชิงลึกในจิตใต้สานึกและจัดกิจกรรมพัฒนา คลื่นสมองตำ (Low Brain Wave Learning) เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมกับการเรียนรู้
4.4 กิจกรรมพัฒนาการคิด (Thinking Skills)และเครื่องมือคิดระดับของการคิดแบ่งเป็นดังนี้
- ระดับต้น – วิเคราะห์ สังเคราะห์ มโนทัศน์ และวิจารณญาณ
- ระดับสูง – จินตนาการ และ คิดสร้างสรรค์
- ระดับสูงสุด – การคิดเชิงอนาคต คือ Vision
- การคิดเชิงกำกับ Meta cognition
พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอย่างมีเป้าหมาย ทำอย่างต่อเนื่อง จนมีคุณภาพสูง ได้แก่ วิสัยทัศน์องค์กรและส่วนบุคคล กรอบความคิดบวก การทำงานเป็นทีม ทักษะการสอน การร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กร การก้าวสู่เป็นครูมืออาชีพ และ เป็นนักจัดกิจกรรม
จุดเด่นที่โรงเรียนลาปลายมาศพัฒนา คือ เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอน ไม่มีเสียงระฆัง ไม่มีดาวให้ผู้เรียน ไม่ต้องใช้แบบเรียน ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง ไม่ได้จัดลำดับความสามารถผู้เรียน โรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด โรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนร่วมกับลูก โรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนอย่างมีความสุข จากคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดูเป็นโรงเรียนที่สร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับเด็กๆ เน้นการเรียนที่มีความสุข การได้ร่วมเรียนรู้กับครอบครัว กับชุมชน “ทุกคนมีบทบาทร่วมกันสร้างสรรค์เด็กให้เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพชีวิต มีทักษะต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เน้นการเป็นคนดีของสังคมมากที่สุด” ในปีนี้ 2556 นับเป็นปีที่โรงเรียนมีอายุ 10 ขวบปี แล้ว มีผลงานสร้างสรรค์ของเด็กๆ มากมาย มีผู้มาศึกษาดูงาน เข้ารับการอบรม ศึกษาวิจัย และอีกหลากหลายรูปแบบ เงินรายได้ก็จะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ทั้งค่า เล่าเรียน วัสดุอุปกรณ์ อาหารกลางวัน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็น ของเด็กๆ ที่โรงเรียนนี้ นี่แหละที่เราใช้คำพูดว่า “เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีปาฏิหาริย์ในการสร้างสรรค์ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” เห็นได้เป็นเชิงประจักษ์จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ ต้องขอขอบคุณ ผอ.สุรพงศ์ ไชยวงษ์ ผู้อำนวยการสานักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้ให้โอกาสได้ไปร่วมเรียนรู้ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ในครั้งนี้ ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจริงๆ และขอเสนอแนะว่า ในฐานะที่พวกเราเป็น ตัวแทน ครู กศน. ทั้ง ๔๐ ชีวิต ได้มีโอกาสอันดีกว่าคนอื่น ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนที่ได้ร่วมเรียนรู้ เข้ารับการอบรมไปอย่างดีในหลายๆ เรื่อง ที่โรงเรียนนอกกะลาแห่งนี้ แม้จะเป็นเวลาเพียงแค่ ๓ วัน แต่ก็เป็นสามวันที่มีคุณค่า ทาให้เราต้องรีบทบทวนการทางานที่ผ่านมาแล้วว่า ความเป็นครู กศน.ของเราควรจะได้รับการพัฒนาหรือไม่ พวกเราทั้งหลายจะนำความรู้ที่ได้รับ ประสบการณ์ที่ได้ร่วมเรียนรู้ ไปแล้วนั้น ไปประยุกต์ใช้พัฒนาการทำงานอย่างไรได้บ้าง ในที่นี้ขอโอกาสเสนอแนะไว้ ดังนี้
๑. ขอให้ทบทวนและสรุปบทเรียนเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับแต่ละวันที่เข้ารับการอบรมนั้น ว่าเราทำอะไรกันบ้าง ได้รับความรู้ในเรื่องอะไร ที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อองค์กร เพื่อเผยแพร่ให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในหน่วยงานของท่านได้ทราบถึงการดำเนินงานของ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เพื่อให้ทุกคนพอมองเห็นภาพองค์รวมของการดำเนินงานที่โรงเรียนแห่งนี้
๒. ดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับอาจจะทำในรูปเผยแพร่บน web ทำเป็นสรุปรายงาน เป็นเอกสาร เป็นซีดี เป็นภาพถ่ายกิจกรรม และความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา อาจจัดในรูปจัดอบรม ประชุม ชี้แจง ฯลฯ ให้บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ได้ประสบการณ์ใกล้เคียงกัน
๓. ร่วมกันคิดและพิจารณาคัดเลือกองค์ความรู้ กิจกรรมต่างๆ เช่น ตัวอย่างการแผนการเรียนรู้ /การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ในแต่ละสาระการเรียนรู้ แต่ละวิชา / การบูรณาการวิชาต่างๆ /การเรียนรู้แบบ PBL /กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมจิตศึกษา/ การพัฒนาสมอง /การพัฒนาปัญญาภายใน/ ปัญญาภายนอก ฯลฯ ที่คิดว่าเหมาะสมนำไปประยุกต์ให้เข้ากับความเป็น กศน.ของเรา เพื่อนำมาออกแบบการเรียนรู้ ทดลองจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา นำสิ่งต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
๔. วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามองค์ความรู้ที่ได้คัดเลือกและออกแบบการเรียนรู้แล้ว นำมาจัดโครงการ จัดกิจกรรมต่างๆ ทุกกิจกรรม ทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเฉพาะให้แก่นักศึกษา พยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของนักศึกษา กศน. เชื่อว่าการพบกลุ่มในครั้งต่อๆไป จะมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น กิจกรรม กศน.อำเภอ มีความเคลื่อนไหวพัฒนาไปในทางที่ดี
๕. ประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่าเกิดผลดีแก่นักศึกษา กศน.เพิ่มขึ้นหรือไม่ เกิดปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง แก้ไขปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอเผยแพร่กิจกรรมที่จัดได้อย่างน่าสนใจต่อไป
สุกัญญา จันทะสูน สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก
ที่มา http://202.143.132.210/plk/UserFiles/File/Sukanya/2556/2556-08-26.pdf
วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นได้จริงที่ห้องเรียน | โรงเรียนบ้านท่าเสา จ.ระยอง
การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นได้จริงที่ห้องเรียน หรือ ที่โรงเรียน ..ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยน้ำลายในที่ประชุมอันฟุ้งฝอย..
โรงเรียนในชนบทหลายสิบแห่ง ปฏิรูปตัวเองแล้วด้วยปัญญาหาใช่อำนาจ ร่วมกันออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็น Active Learning ให้เด็กรัก เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย เพื่อให้เด็กมีความสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ(ซีกซ้าย) คิดสร้างสรรค์(ซีกขวา) เข้าใจต่อเรื่องที่เรียน เห็นความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ เคารพกัน เรียนรู้ร่วมกัน และ ยังเป็นตัวเอง
วิเชียร ไชยบัง https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87/328317570597593?fref=ts
โรงเรียนในชนบทหลายสิบแห่ง ปฏิรูปตัวเองแล้วด้วยปัญญาหาใช่อำนาจ ร่วมกันออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็น Active Learning ให้เด็กรัก เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุขและมีความหมาย เพื่อให้เด็กมีความสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ(ซีกซ้าย) คิดสร้างสรรค์(ซีกขวา) เข้าใจต่อเรื่องที่เรียน เห็นความเชื่อมโยงขององค์ความรู้ เคารพกัน เรียนรู้ร่วมกัน และ ยังเป็นตัวเอง
วิเชียร ไชยบัง https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87/328317570597593?fref=ts
วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ต้นข้าวต้นชีวิต | โรงเรียนบ้านปะทาย
งานค้นคว้าอิสระ เรื่อง ต้นข้าวต้นชีวิต พี่ๆ ป. 4 เกี่ยวข้าว เป่าปี่ ทุกคนสนุกกับการเป่าปี่ที่ทำจากต้นข้าว ทำให้เกิดเป็นเสียงตามชอบและลองเอาใบไม้มาเป่าให้มีเสียงได้อีก เป็นของเล่นที่ไม่ต้องลงทุนทุกคนสนุกมากค่ะ คุณครูขอบคุณพี่ๆ ป.4 ทุกคนที่ตั้งใจ
กิจกรรมสรุปองค์ความรู้ประจำสัปดาห์ | โรงเรียนบ้านปะทาย
นักเรียนจะได้นำเสนอในสิ่งที่ตัวเองเรียนมาตลอดสัปดาห์ เพื่อเป็นการแชร์แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและกันของนักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่แตกต่างร่วมกันในห้องเรียนอย่างมีความสุข
วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
โรงเรียนบ้านภูเงิน (อินทรสุขศรีราษฎร์สามัคคี) สพป.ศรีสะเกษ เขต 4
โรงเรียนบ้านภูเงิน (อินทรสุขศรีราษฎร์สามัคคี) อ.กันทรลักษ์
สพป.ศรีสะเกษ เขต 4
ซึ่งเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างพลังอำนาจจัดการศึกษาที่สร้างสุขภาวะใน
โรงเรียน มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มใช้กิจกรรมจิตศึกษา
และจัดการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ในภาคเรียนที่ 2/2557
นี้
ในภาพเป็นการให้ผู้ปกครองมาร่วมเรียนรู้กิจกรรมจิตศึกษา ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนใจดีมากๆ ครับ โรงเรียนได้เริ่มทำ PLC เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลาประมาณ 15.00-17.00 น. ก่อนทำ PLC ได้ให้ครูทำ AAR ก่อน 1 วัน ผมคาดว่าจะไปได้ดีครับถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำ PLC ทุกสัปดาห์ ไม่ต้องกลัวผิดครับ ครูต้องกล้าทดลองนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ คิดก่อนทำ ลองทำ เรียนรู้ร่วมกัน และนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
ในภาพเป็นการให้ผู้ปกครองมาร่วมเรียนรู้กิจกรรมจิตศึกษา ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนใจดีมากๆ ครับ โรงเรียนได้เริ่มทำ PLC เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เวลาประมาณ 15.00-17.00 น. ก่อนทำ PLC ได้ให้ครูทำ AAR ก่อน 1 วัน ผมคาดว่าจะไปได้ดีครับถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำ PLC ทุกสัปดาห์ ไม่ต้องกลัวผิดครับ ครูต้องกล้าทดลองนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ คิดก่อนทำ ลองทำ เรียนรู้ร่วมกัน และนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
นิทานแม่เกอว | โรงเรียนบ้านปะทาย
นิทานเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นสิ่งที่เด็กเข้าใจง่าย ดังนั้นครูจึงใช้วรรณกรรมเพื่อนำมาประยุกต์เป็นนิทาน เด็กๆสามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานพร้อมกับเกิดทั้งความรู้และความสุข และสามารถช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สิ่งที่อยากรู้ | โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพ ที่ 166
นักเรียนโรงเรียนป่ากลางมิตรภาพ ที่ 166 ได้ร่วมกันระดมความคิด เพื่อค้นคว้าหา Topic ที่ตัวเองสนใจและอยากเรียนรู้วิชา PBL พร้อมกับนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่ม ในรูปแบบของ Mind mapping ให้เพื่อนๆกลุ่มอื่นได้ดู เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มในชั้นเรียน
เราจะเดินไปด้วยกัน | เครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะ ร่วมปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับพื้นที่
29-31 ตุลาคม 57 ประชุมปฏิบัติการจิตศึกษา และจัดทำหน่วยบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของเครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะ โดยครูโรงเรียนบ้านปะทาย บ้านนาขนวน บ้านทุ่งยาวฯ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ มีคณะครูจากโรงเรียนบ้านภูเงิน บ้านนารังกา บ้านกระมัลพัฒนาและะบ้านตระกาจ จำนวน ๕๑ คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ โรงเรียนบ้านปะทาย
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
อาชีพแห่งความสุข | โรงเรียนบ้านหนองดุม
ความฝันถือเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดสำหรับคนที่มีความใฝ่ฝัน ความฝันเปรียบเสมือนแรงผลักดันให้ตนเองมีความพยายาม ตั้งมั่น และคาดหวังที่จะทำความฝันให้เป็นความจริงได้ พี่ๆอนุบาลโรงเรียนบ้านหนองดุม ล้วนมีความฝันเป็นของตนเอง ฝันที่จะมี "อาชีพแห่งความสุข"
วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
กิจกรรมสรุปองค์ความรู้ Quarter 2 | โรงเรียนบ้านนาขนวน
10 ตค.57 กิจกรรมสรุปองค์ความรู้Quarter 2 ผู้ปกครองและครูมีความสุขกับความงอกงามของลูก กิจกรรมประกอบด้วย ผู้ปกครองในชั้นเปลี่ยนลูกๆกันประเมิน ผลงาน ชิ้นงาน นิทรรศการที่เกิดจากการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนประเมินการสอนของครู ประเด็นสอนสนุกและเข้าใจบทเรียน ความเป็นกลัยาณมิตรของครูของ มีผู้บริหารและคณะครู ในโครงการ รร.สุขภาวะเข้าร่วมเรียนรู้และสังเกตการณ์ คือ รร.บ้านตระกาศ อ.ศรีรัตนะและบ้านกระมัล อ.ขุนหาญครับ
นิทรรศการแสดงผลงานผู้เรียนและสรุปองค์ความรู้ครั้งที่ 2/2557 | โรงเรียนบ้านปะทาย
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 57 จัดค่ายวิชาการนิทรรศการแสดงผลงานผู้เรียนและสรุปองค์ความรู้ครั้งที่ 2/2557 โดยมีการแสดงละคร บทบาทสมมุติ การจัดนิทรรศการ การนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ การให้ผู้ปกครองร่วมประเมินชิ้นงาน และมีคุณครูจากต่างโรงเรียนคือโรงเรียนบ้านภูเงิน โรงเรียนบ้านนารังกา (สพป.ศก.4) และโรงเรียนบ้านหว้าน(สพป.ศก.2) มาร่วมชมการแสดงและเยี่มมนิทรรศการ รวม 30 คน และผู้ปกครองพร้อมกับผู้นำชุมชนมาร่วมงาน อีกประมาณ120 คน
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557
จิตศึกษา | โรงเรียนบ้านหนองดุม
ทุกๆวันในตอนเช้านักเรียนที่นี่จะเรียน วิชาจิตศึกษา วันนี้นักเรียนได้ใช้ดอกดาวเรืองในการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่บ่มเพาะความงอกงามด้านในโดยใช้ฐาน ใจ เป็นหลัก
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557
อาชีพแห่งความสุข | จิตศึกษา โรงเรียนบ้านหนองดุม
กิจกรรมจิตศึกษาของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองดุม เด็กๆได้นำเมล็ดยางพารา มาต่อเป็นรูปทหารและอีกหลายอาชีพ ตามที่ตัวเองใฝ่ฝันอยากเป็นในอนาคต แล้วนักเรียนทุกคนก็ได้เล่าความใฝ่ฝันของอาชีพที่อยากเป็นในอนาคตให้เพื่อนๆในห้องเรียนฟัง
PBL เที่ยวสนุกอาหารอร่อย | โรงเรียนบ้านปะทาย
วิชาภาษาอังกฤษวันนี้เป็นการบูรณาการ กับหน่วย PBL เรื่องเที่ยวสนุกอาหารอร่อยของพี่ม.1โดยเรียนรู้คำศัพท์และประโยคในภาษาอังกฤษและนักเรียนยังได้วาดภาพระบายสี กับการเรียนรู้ที่สนุกสนาน
"เด็กปั้น" | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมจิตศึกษา "เด็กปั้น"
กิจกรรมจิตศึกษาวันนี้ เป็นการเล่าเรื่องและนำเสนอผลงานการปั้นของเด็กๆ
ในหัวข้ออิสระค่ะ .. สืบเนื่องจากกิจกรรมพัฒนางานอาชีพที่เด็กๆได้มีโอกาสลงมือวร้างสรรค์ ผ่านการปั้นดินเหนียวในรูปแบบของตนเอง กิจกรรมจิตศึกษากับการทำงานที่แสนสุข สนุกกับการจดจ่อและสร้างสรรค์ ภูมิใจกับงานของตนที่ได้ทำ ฝึกความพร้อมในกับรับรู้และฟัง
กิจกรรมจิตศึกษาวันนี้ เป็นการเล่าเรื่องและนำเสนอผลงานการปั้นของเด็กๆ
ในหัวข้ออิสระค่ะ .. สืบเนื่องจากกิจกรรมพัฒนางานอาชีพที่เด็กๆได้มีโอกาสลงมือวร้างสรรค์ ผ่านการปั้นดินเหนียวในรูปแบบของตนเอง กิจกรรมจิตศึกษากับการทำงานที่แสนสุข สนุกกับการจดจ่อและสร้างสรรค์ ภูมิใจกับงานของตนที่ได้ทำ ฝึกความพร้อมในกับรับรู้และฟัง
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
จิตศึกษา | โรงเรียนบ้านปะทาย
กิจกรรมจิตศึกษาวันนี้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านปะทาย นักเรียนได้นำใบมะพร้าวมาจักสาน ให้เกิดเป็นรูปต่างๆเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด มีสติอยู่กับตัวเอง และการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีสติจะช่วยให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น หนึ่งในกิจกรรมจิตศึกษาที่ครูออกแบบในทุกๆเช้าของวันหลังจากทำกิจกรรมหน้าเสาธง
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
เรขาเปลี่ยนไป | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
จิตศึกษา ป.3 : เรขาเปลี่ยนไป เด็กๆฝึกสมองสองซีกด้านคณิตเรียนรู้เรื่องมุมอีกด้านคือจินตนาการจากเรขาคณิตให้เกิดภาพที่ไม่ซ้ำกัน คิดๆ สนุกดี
วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557
สัตว์วิเศษ จากดินเหนียว | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมจิตศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง มีชื่อกิจกรรมว่า จิตศึกษา: สัตว์วิเศษ นักเรียนนำดินเหนียวมาปั้นเป็นสัตว์ที่ไม่มีอยู่จริงบนโลกนี้พร้อมด้วยพลังวิเศษ เด็กๆมีสมาธิ สนุกจนต้องขอปั้นอีกตัว
วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เรียนอังกฤษอย่างมีความสุข | โรงเรียนบ้านปะทาย
กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติจริงเป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองและฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกัน
ครู "ยายทองใบ" | โรงเรียนบ้านปะทาย
ยายทองใบภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยคุณครูจัดการเรียนการสอนการสาวไหมจากการสังเกตจะเห็นว่าคุณยายทองใบเป็นได้มากกว่าวิทยากรเพราะคุณยายได้เรียนรู้การถ่ายทอดและการใช้จิตวิทยากับผู้เรียน...เหมาะสมกับคำว่า"ครูยาย"
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ฝึกสมอง 2 ซีก | กิจกรรมจิตศึก รร.เทศบาลบ้านหนองแวง
ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหนอง ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตศึกษา โดยมีชื่อกิจกรรม "อ๊บ อ๊บ ฝึกสมอง 2 ซีก"
วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเพาะเห็ด | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมส่งเสริมทักษะงานอาชีพ "กลุ่มเพาะเห็ด" ในสัปดาห์นี้เด็กๆได้ไปศึกษาและเรียนรู้กระบวนการเพาะเห็ด ณ สวนเห็ดนกแก้ว บ้านโนนชัย มีคุณตาใจดีมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับเห็ด-กระบวนการเตรียมการเพาะเห็ด ตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนกระทั่งขั้นตอนสุดท้าย จากนั้นคุณตาก็พาเดินชมสวนเห็ดตามลำดับขั้นตอนที่คุณตาได้เล่าให้ฟังไปเมื่อซักครู่ คุณตาให้เด็กๆได้ลองกรอกเชื้อเห็ดใส่ถุงกัน หลังจากที่เด็กๆได้เรียนรู้กระบวนการเพาะเห็ดแล้ว ก็ได้สรุปความเข้าใจของตน ผ่านชิ้นงาน Timeline ลำดับเหตุการณ์ "กว่าจะมาเป็นเห็ด 1 ก้อน" เด็กจะต้องทำขั้นตอนใดบ้าง
พรวิเศษจากไม้ไอติม | โรงเรียนบ้านหนองดุม
ครูร่วมกันทำกิจกรรมจิตศึกษา "พรวิเศษจากไม้ไอติม" โดยการนำม้ไอติมที่ทิ้งแล้วมาทำให้เกิดประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ในวง PLC ของครูในโรงเรียนบ้านหนองดุม
วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557
PBL | เครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะ
วันที่ 15 สิงหาคม 2557 การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการสอนบูรณาการ Problem Based Learning (PBL) ที่ศูนย์ภาษาอังกฤษทองใบ ทองมาก โดยโรงเรียนที่สนใจ ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านเดียง (พลีศึกษา) 20 คน บ้านขะยูง 19 คน บ้านทุ่งยาวคำโปรย 13 คน บ้านทุ่งโพธิ์ 2 คน บ้านโศกขามป้อม 3 คน รวม 57 คน วิทยากรจากโรงเรียนบ้านนาขนวนและปะทาย รวม 6 คน รวมผู้ร่วมกิจกรรมท้ังสิ้น 63 คน กิจกรรมดีมากครับ ครูต้องมีแผนและสอนโดยใช้ PBL จัดกิจกรรมจิตศึกษา (มีมากกว่า 100 วิธี) แล้วต้ังวง PLC แค่สัปดาห์ละ 1 คร้ัง (ประมาณ 15.00-16.30 น.) รับรองสำเร็จแน่นอนครับ ครูต้องกล้าทดลองสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ ไม่ต้องกลัวผิดครับ "คำตอบอยู่ที่หน้างาน" โรงเรียนสุขภาวะเราคงต้องคิดอะไรเป็นพิเศษเช่นนี้ครับเพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้น ไม่ต้องรอสพป.หรือหน่วยงานอื่นๆ มาช่วยลมๆ แล้งๆ และอาจต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกว่า เราจะปรับ/เพิ่มอะไรอย่างไร เพื่อคุณภาพที่ดีขึ้น "เหนือฟ้ายังมีฟ้าครับ" เราอาจจะเก่งกว่าครูที่เคยสอนเราก็ได้ ถ้าสามารถขุดความรู้/ศักยภาพของเราออกมาได้
รูปร่างรูปทรง | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมจิตศึกษา : "รูปร่างรูปทรง" กิจกรรมจิตศึกษาเช้าวันศุกร์สุดสัปดาห์นี้ คุณครูมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเงามาเล่าให้เด็กๆฟังค่ะ จากเรื่องเล่าแปรเปลี่ยนเป็นคำถาม เชื่อมโยงสู่กิจกรรม รับรู้รับฟังผ่านการมองเห็น ชัดเจนเมื่อได้คำตอบ เมื่อใดก็ตามที่เด็กๆรู้สึกผ่อนคลาย มีความสงบรู้สึกตัว เมื่อนั้นก็จะทำให้เด็กๆสามารถเปิดรับข้อมูล และเรียนรู้ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์
สร้างสมาธิด้วยสี | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมจิตศึกษา : "สี" กิจกรรมเช้าวันนี้คุณครูมอบพลังวิเศษให้กับเด็กที่น่ารัก ในการนำกิจกรรม Brain Gym สร้างสมาธิจดจ่อ มีความพร้อมในการรับฟังก่อนทำกิจกรรม วันนี้คุณครูใช้การทดสอบผ่านการมองเห็น โดยเริ่มจากสิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งเด็กๆทุกคนต่างก็มีการรับรู้ผ่านการมองเห็นที่ดีเยี่ยม
: คุณครูมีสีมาให้ดูเพิ่มค่ะ เชื่อรึเปล่าค่ะว่าสีเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากสีเพียง 3 สีเท่านั้นคะ
: เด็กๆเริ่มแสดงความคิดต่างๆนาๆตามความเข้าใจของตนเอง เชื่อมโยงจนนำไปสู่คำตอบของการกำเนิดสีต่างๆเหล่านั้น และสะท้อนผ่านผลงานภาพเรื่องสีกันค่ะ
: คุณครูมีสีมาให้ดูเพิ่มค่ะ เชื่อรึเปล่าค่ะว่าสีเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากสีเพียง 3 สีเท่านั้นคะ
: เด็กๆเริ่มแสดงความคิดต่างๆนาๆตามความเข้าใจของตนเอง เชื่อมโยงจนนำไปสู่คำตอบของการกำเนิดสีต่างๆเหล่านั้น และสะท้อนผ่านผลงานภาพเรื่องสีกันค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557
หอคอยสามัคคี | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมจิตศึกษา P.4 "หอคอยสามัคคี" เช้าวันนี้กับกิจกรรมจิตศึกษาฝึกการคิดอย่างมีสติ เปิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฝึกการรับฟัง และการยอมรับ ผ่านการลงมือทำอย่างมีเหตุผล และเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้จากกิจกรรมนี้ของเด็กๆแต่ละกลุ่มจะเป็นความสูง...แต่เมื่อลงมือทำแล้วความคิด...กับสิ่งที่ทำมันกลับสวนทางกัน เกิดคำถามมากมายภายในกลุ่ม..."ทำสูงแล้วจะตั้งอย่างไรละ?" เมื่อปัญหาที่มาพร้อมกับความการแก้ไขจึงเกิดการระดมสมอง ผจญภัยทางความคิดที่ท้าทายของแต่ละกลุ่ม ว่าความสูงอย่างเดียวคงไม่พอต้องอาศัยฐานที่มั่นคง
คุณครูดีใจค่ะ ที่เห็นเด็กๆพร้อมที่จะเรียนรู้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาร่วมกันทุกขั้นตอน เพื่อความสำเร็จของเป้าหมาย คุณครูไม่เห็นกลุ่มไหนวางมือหรือยอมแพ้เลย ถึงแม้หอคอยนี้ที่เด็กหวังไว้จะไม่สูงอย่างที่เด็กๆคิดไว้ก็ตาม
คุณครูดีใจค่ะ ที่เห็นเด็กๆพร้อมที่จะเรียนรู้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาร่วมกันทุกขั้นตอน เพื่อความสำเร็จของเป้าหมาย คุณครูไม่เห็นกลุ่มไหนวางมือหรือยอมแพ้เลย ถึงแม้หอคอยนี้ที่เด็กหวังไว้จะไม่สูงอย่างที่เด็กๆคิดไว้ก็ตาม
วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Emotion | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
พี่ ป.6 เรียนรู้เกี่ยวกับ Emotion ใบ้ท่าทางกันอย่างสนุกสนาน สามารถจำคำศัพท์จากภาพได้โดยไม่ต้องนั่งท่องทีละคำ
Role model | โรงเรียนบ้านปะทาย
การจัดการเรียนรู้ที่ให้เกิดคุณค่าต่อสังคม ที่ควรคำนึงคือความร่วมมือของชุมชน และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งครูและผู้ปกครองต้องร่วมด้วยช่วยกันบ่มเพาะ เพื่อให้ผู้เรียนซึมซับแต่สิ่งดีงาม(Role model) การอ่านฟังนิทานคุณธรรมก็เป็นการบ่มเพาะที่ผู้ปกครองทำได้ง่ายๆ
ริบบิ้นลวดแปลงร่างตัวอักษร | จิตศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง
กิจกรรมจิตศึกษา: ริบบิ้นลวดแปลงร่างตัวอักษร วันนี้คุณครูอั๋นและพี่ ป.5 ได้แปลงร่าง ริบบิ้นลวดแปลงร่าง ให้เป็นตัวอักษรต่างๆที่ตนเองชอบ พร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมทำตัวอักษรนั้นๆ จนครบทุกคน
จากนั้นคุณครูให้เด็กๆ นำตัวอักษร และสระมาวางต่อกันทีละคน อ่านประโยคที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ประโยคที่ปรากฏ โดยสามารถช่วยกัน สลับตัวอักษร และสระ ให้ได้ประโยคที่สมบูรณ์ที่สุด ดูซิค่ะ..เด็กๆได้คำว่าอะไรกัน
จากนั้นคุณครูให้เด็กๆ นำตัวอักษร และสระมาวางต่อกันทีละคน อ่านประโยคที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ประโยคที่ปรากฏ โดยสามารถช่วยกัน สลับตัวอักษร และสระ ให้ได้ประโยคที่สมบูรณ์ที่สุด ดูซิค่ะ..เด็กๆได้คำว่าอะไรกัน
วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
เปลื่ยนลูกๆกันประเมิน | นาขนวนเปิดบ้านสรุปองค์ความรู้ Quarter1 โรงเรียนบ้านนาขนวน
29 กค 57 นาขนวนเปิดบ้านสรุปองค์ความรู้ Quarter1 "เปลื่ยนลูกๆกันประเมิน" !!!กิจกรรมเป็นไปอย่างธรรมชาติครูและผู้ปกครองเห็นความงอกงามของลูกๆ มากครับ
กิจกรรมสรุปองค์ความรู้ ปิดควอเตอร์ที่1/57 | โรงเรียนบ้านปะทาย
วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
กิจกรรมร่วมสร้างคนดีศรีปะทาย | ครู-ผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านปะทาย
วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
สื่อการเรียนรู้ราคาถูก | โรงเรียนบ้านปะทาย
แม่ไก่ออกไข่ วันละฟอง 5 วัน ได้ไข่ 5 ฟอง น้องอนุบาล 1 ประดิษฐ์เอง เล่นเอง สนุกปลอดภัย หาได้ในท้องถิ่น แถมได้ทักษะ จินตนาการ ภาษาสื่อสาร ทักษะการสังเกต และคณิตสาตร์ด้านจำนวน
โพสต์ by ศูนย์วิจัยระบบการศึกษา (CRES).
โพสต์ by ศูนย์วิจัยระบบการศึกษา (CRES).
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
จิตศึกษา แปลงร่าง | โรงเรียนบ้านหนองดุม
กิจกรรมจิตศึกษาตัวต่อแปลงร่าง โดยการนำตัวต่อหลายๆอันมาต่อรวมกันให้มีขนาดเท่ากับนักเรียนที่สามารถนอนลงไปได้ เป็นกิจกกรมการระดมสมองช่วยกันวางแผนระหว่างนักเรียน เพื่อให้ได้ตัวต่อที่มีขนาดเท่ากับนักเรียนที่นอนลงไป
โพสต์ by โรงเรียนบ้านหนองดุม.
วิถีของผู้เรียน | ผลงานนักเรียน โรงเรียนบ้านปะทาย
การสร้างวิถีผู้เรียน ผลงานชั้นป.๒
๑. ปริยัติ เรียนรู้ผ่านกระบวนการหาคำตอบ
๒ ปฏิบัติ ลองทำ ฝึกฝน อดทน
๓.ปฏิเวธ เป็นวิถีชีวิต
ต้องใจเย็น รอคอย สม่ำเสมอ ให้กำลังใจ ไม่ยึดติดรูปแบบ
๑. ปริยัติ เรียนรู้ผ่านกระบวนการหาคำตอบ
๒ ปฏิบัติ ลองทำ ฝึกฝน อดทน
๓.ปฏิเวธ เป็นวิถีชีวิต
ต้องใจเย็น รอคอย สม่ำเสมอ ให้กำลังใจ ไม่ยึดติดรูปแบบ
จิตอาสา | ครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองดุม
คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองดุม ร่วมแรงร่วมใจกัน ก่อสร้างโรงพยาบาลชุมชนโรงเรียน ซึ่งเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง และเกิดกระบวนการทำงานเป็นทีม
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ปลูกต้นไม้เทิดพระเกียรติ | โรงเรียนราษฏร์บำรุง
คณะครูและนักเรียน โรงเรียนราษฏร์บำรุง ร่วมกันปลูกต้นไม้เทิดพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ และการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนของนักเรียนด้วย
PLC การจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนจัดการเรียนรู้ | โรงเรียนบ้านหนองดุม
การตั้งวงสนทนา PLC ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยของครูในโรงเรียน เพื่อการจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนจัดการเรียนรู้
วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
PLC จิตศึกษา | ครูโรงเรียนบ้านหนองดุม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการทำจิตศึกษาร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาสติและปัญญาภายในก่อนการปฏิบัติหน้าที่ของคุณครูในโรงเรียนบ้านหนองดุม
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ต้นข้าวต้นชีวิต | กิจกรรมการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านปะทาย
ตรวจสอบการเจริญเติบโต ของต้นข้าว แล้วบันทึก การงอก และการเจริญเติบโต ต้นข้าวต้นชีวิต
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Body scan | ครูโรงเรียนบ้านปะทาย
คุณครูแต่ละท่านต่างชื่นชมว่าการฝึกฝนทบทวนกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ วันนี้โดยการทำกิจกรรมจิตศึกษาbody scan และการออกแบบการเรียนรู้ให้เกิด Active learning ยอดเยี่ยมมากขอบคุณครูทุกท่าน
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
จิตศึกษา | โรงเรียนบ้านเหล่าปาเป้ด
หลังจากกิจกรรมหน้าเสาธงเสร็จ เวลา 08.30
นักเรียนจะแยกกันทำกิจกรรมจิตศึกษาเพื่อพัฒนาสมองโดยครูประจำชั่นเป็นผู้
กำกับและอาจจะร่วมทำด้วยตามแต่โอกาส
นักเรียนมีกิจกรรมพัฒนสมองมากมายและเด็กจะมีความสุขมากเมื่อมีกิจกรรมนี้
วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
แหล่งเรียนรู้ใกล้ตัว | โรงเรียนบ้านปะทาย
การเรียนรู้นอกห้องเรียนของน้องอนุบาลปะทาย
ได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัส ได้ทักษะภาษา การคิด การจิตนาการ
และมีการออกแบบการวางแผนการทำงานที่ยอดเยี่ยม โดยไม่ต้องลงทุนด้วยราคาแพง
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
มีสติก่อนเรียน | โรงเรียนบ้านปะทาย
วิธีการฝึกกำกับสติ ให้รู้ตัว มีสมาธิ ผ่อนคลาย มีหลากหลายวิธี แต่ก็ควรทำเป็นวิถี อย่างเช่นนี้ทุกเช้าวันศุกร์หลังกิจกรรมหน้าเสาธง 08.25-08.50 น. มีให้เห็นเป็นประจำ
จิตศึกษา | โรงเรียนบ้านปะทาย
ได้เรียนรู้ ฝึกสมาธิ กำกับสติ มีทักษะ จากแหล่งเรียนรู้สวนมะลิโรงเรียนและกิจกรรมจิตศึกษายามเช้า
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557
สมาธิเป็นบ่เกิดแห่งปัญญา | โรงเรียนบ้านปะทาย
สมาธิเป็นบ่เกิดแห่งปัญญา น้องอนุบาลปะทาย เช้าวันศุกร์เดินอย่างมีสติ สงบ ตั้งมั่น ระมัดระวัง ด้วยความรัก และเอาใจใส่
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)