วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางในหลวง ร.9


การปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะเรื่องของการเรียนการสอน เป็นประเด็นที่สังคมไทยคาดหวังและถูกพูดถึงอย่างบ่อยครั้ง จะสามารถปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางในหลวง ร.9 และการพัฒนาครูได้อย่างไร

รายการพิเศษ #แสงจากพ่อ (สู่ความยั่งยืน) "ปฏิรูปการศึกษา" ผู้ร่วมรายการ ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา #โรงเรียนนอกกะลา ติดตามชมในรายการแสงจากพ่อ ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. 2559 เวลา 20.30-22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ได้ทาง www.thaipbs.or.th/Live
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสร่วมกับเครือข่ายฯ น้อมนำพระอัจฉริยภาพ ด้านต่างๆของ "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" รวมถึง บุคคลสำคัญทั่วประเทศไทย ที่ได้ดำเนินรอยตามพ่อของแผ่นดินจนประสบความสำเร็จ มานำเสนอให้กับคุณผู้ชมได้รู้จัก เพื่อเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ดั่งแสงนำทางของพ่อที่ไม่มีวันจางหายไป


ติดตามชมได้ในรายการ แสงจากพ่อ (สู่ความยั่งยืน) วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2559 เวลา 20.30 - 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปความรู้ของ Quarter2/2559 โรงเรียนบ้านหนองดุม จ.อุบลราชธานี

วันนี้โรงเรียนบ้านหนองดุมสรุปองค์ความรู้ก่อนสอบวัดผลและประเมินผลประจำQuarter2/2559

PBL ป.4-5 โรงเรียนบ้านขุมคำ จ.หนองคาย

Pbl ป.4-5 หน่วยเด็กขุมคำอนุรักษ์พลังงานโดยครูเปิ้ลชาย จากการสร้างแรงมาได้ 2 weekเห็นผลงานแล้วรู้สึกว่าเด็กมีความตั้งใจและมีความเอาใจใส่ในการทำผลงานของตัวเองมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมจิตศึกษา ถุงผ้าปริศนา | โรงเรียนชุมชนดอนไพล

กิจกรรมถุงผ้าปริศนา. ให้นักเรียนอนุบาลได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส. เป็นกิจกรรมที่เยี่ยมยอดมากครับ. และจบลงด้วยการมอบความรักให้กับนักเรียนโดยการกอดครับ. ขอขอบคุณ. คุณครูนิ่ม. ครูน้องและครูนุ้ยครับ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปองค์ความรู้Quarter1/59 | โรงเรียนบ้านนาขนวน

สรุปองค์ความรู้Quarter1 จากกระบวนการเรียนรู้แบบใช้บัญหาเป็นฐาน ความสำเร็จคือความงอกงานที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ขอบคุณคุณครูและผู้ปกครองที่ทำงานร่วมกันอย่างมีคุณค่าเพื่อเด็กๆครับ

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

จิตศึกษา อนุบาล2 โรงเรียนชุมชนดอนไพล | โครงการ BKIND

จิตศึกษา อนุบาล2 ห้องครูนิตยา. เพื่อพัฒนาปัญญาภายใน และเตรียมความพร้อมทั้งทางกายและใจให้กับผู้เรียน. ก่อนเรียนรู้ครับ

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ออกแบบ PBL ‪‎เครือข่ายงอกนอกกะลา

คนสำราญงานสำเร็จ ภารกิจราบรื่นในการร่วมมือกับโรงเรียนบ้านพรหมเจริญ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ออกแบบ PBL ‪#‎เครือข่ายงอกนอกกะลา‬(20 กรกฎาคม2559) ‪#‎โรงเรียนบ้านพรหมเจริญ‬

PLC ( AAR )โรงเรียนชุมชนดอนไพล | โครงการ BKIND

PLC ( AAR )โรงเรียนชุมชนดอนไพล. กิจกรรมจิตศึกษา การสอนบูรณาการ PBL. และPLC(AAR) นักเรียน ผลเป็นอย่างไร

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นักศึกษามาศึกษากิจกรรมจิตศึกษาแลกเปลียนเรียนรู้ | โรงเรียนบ้านหนองดุม

อาจารย์ชนารักษ์ เวชสวัสดิ์ คณะคุรุศาสตร์และนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั้วไป จำนวน 42 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมจิตศึกษาและการเรียนการการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) วันพฤหัสบดีที่ 7 ก.ค. 2559

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ผู้บริหาร และคณะครูจากกลุ่ม รร.สพป.นครราชสีมา เขต5 เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนบ้านท่าเสา

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 ผู้บริหาร และคณะครูจากกลุ่ม รร.สพป.นครราชสีมา เขต5เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL  และกิจกรรมจิตศึกษาของโรงเรียนบ้านท่าเสา

 

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

จิตศึกษา โรงเรียนวัดตากวน | เครือข่าย ปตท.

จิตศึกษา พัฒนาปัญาภายใน. โรงเรียนวัดตากวน. เครือข่ายระยอง.





AAR. โรงเรียนชุมชนดอนไพล | BKIND

AAR. ทุกวันอังคารและพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ เวลา15.30-16.00น. วันนี้ สะท้อนการทำกิจกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คณะครู 3 โรงเรียนร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนรู้ | โรงเรียนบ้านประทาย

คุณครูจากโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง โรงเรียนบ้านโต่งโต้นและโรงเรียนบ้านอีสร้อย เรียนรู้จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน การจัดการเรียนรู้ด้วยActive learning และPBLเพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้(ปัญญาภายนอก)และขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพPLC

 

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ร่วมกันจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้PBL ภาคเรียนที่1/2559 | โครงการ BKIND

คณะครูโรงเรียนชุมชนดอนไพลและอีก3โรงเรียนคือปอพราน โค้งกระโดนและโกรกลึก ร่วมกันจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้PBL ภาคเรียนที่1/2559

 

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

ถอดบทเรียน เปลี่ยนแปลงความเชื่อ โรงเรียนเครือข่าย

ถอดบทเรียน เปลี่ยนแปลงความเชื่อ
กำหนดวิธีทำงานก้าวสู่เส้นทางที่เป็นจริง กิจกรรมถอดบทเรียนของคุณครูและชุมชนโรงเรียนบ้านปะทายและบ้านนาขนวน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 กับโรงเรียนบ้านขุมคำและบ้านเทพประทับ สพป.หนองคายเขต1 ขอขอบคุณผู้นำชุมชนโดยการนำของนายอุดม เถาว์คำ กำนันตำบลทุ่งใหญ่ และนายสมชัย คชพันธ์ กำนันตำบลขนุน พร้อมทีมกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองทุกๆท่าน

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา กับการปฏิรูปการศึกษาไทยที่เกิดขึ้นได้แบบไม่ต้องรอ!! | School of Changemakers

ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ที่ถูกพูดถึงมานานกว่า 40 ปี จนจัดเป็นวาระแห่งชาติ แต่ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้แสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปไม่ใช่เรื่องที่ใหญ่เกินกว่าจะทำได้ และสามารถเริ่มทำได้ทันที โดยไม่ต้องรอนโยบาย หลักสูตร หรือมาตรการใดๆ
ตอนที่ 1 : ความสำเร็จเป็นเพียงจุดเริ่มต้น
ความ สำเร็จของการจัดการศึกษาที่สามารถพัฒนาความเป็นมนุษย์และศักยภาพของผู้เรียน ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ให้มีทักษะในการใช้ชีวิต ประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเองได้ มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่นและพัฒนาสังคม
ตอนที่ 2 : จากหนึ่งเป็นร้อยโรงเรียนต้นแบบ
ขยาย ผลจากหนึ่งความสำเร็จสู่ร้อยโรงเรียนต้นแบบที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยการพัฒนาบุคลากรครูให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประยุกต์ ปรับใช้และเป็นต้นแบบขยายผลในพื้นที่ต่อไปจนเกิดเป็น Critical Mass และเกิดการปฏิรูปการศึกษาในที่สุด
ตอนที่ 1 ความสำเร็จเป็นเพียงจุดเริ่มต้น
คง ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเป้าหมายทางการศึกษาของคนส่วนใหญ่ คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะทางภาษา สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบและมีความสามารถในการแข่งขัน ผู้ปกครองที่มีฐานะจึงเลือกส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนนานา ชาติที่มีกระบวนการเรียนการสอนแตกต่างจากโรงเรียนในระบบการศึกษาทั่วไป เช่นเดียวกับ 'โรงเรียนทางเลือก' ที่มีจำนวนมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง ซึ่งสามารถแบ่งได้อีกหลายระดับ ดังนั้นโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพจึงเหมือนถูกจำกัดไว้สำหรับคนมีฐานะ และกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง ทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้
ตลอดระยะ เวลา 13 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาตั้งอยู่ที่อ.ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร มีรายได้น้อย โรงเรียนจึงไม่เก็บค่าเล่าเรียนและคัดเลือกเด็กเข้าศึกษาโดยการจับฉลาก ไม่วัดจากความสามารถหรือข้อสอบ ไม่คัดใครเข้าและไม่คัดใครออก แต่ต้องการให้เด็กทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม และเมื่อจบการศึกษา เด็กทุกคนจะรู้จักตัวเอง สามารถคิด วิเคราะห์ และมีทักษะในแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงแสดงให้เราเห็นว่า อันที่จริงแล้ว “ไม่มีเด็กคนไหนไม่ฉลาด มีแต่เด็กที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดี”
โรงเรียน ลำปลายมาศพัฒนา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมทางการศึกษาที่ผสมผสานการพัฒนาผู้เรียนทั้ง ภายในและภายนอกเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย

  1. จิตศึกษา เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากภายใน สร้างการตระหนักรู้ของเด็กหรือให้นักเรียนรู้สึกตัว รู้ตัวเอง มีจิตใจจดจ่อกับสิ่งรอบตัวที่กำลังเกิดขึ้น เข้าถึงปัญญาภายใน กระบวนการจิตศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมตนเองได้ มีสติรู้เท่าทันอารมณ์ มีสมาธิ พัฒนาไปสู่การรู้คุณค่าของตนเองและผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ อื่น ทำให้เด็กๆ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข เป็นเพื่อน เป็นพี่น้องกัน


นอก จากนี้ก่อนเริ่มการเรียนรู้ยังมีกิจกรรมการปรับคลื่นสมองให้เด็กทำร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กแต่ละคนที่เพิ่งวิ่งเล่นมา ปรับความถี่ของคลื่นสมองให้ทุกคนพร้อมรับข้อมูล พร้อมที่จะเรียนรู้ โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่าการปรับความถี่สมอง มีผลต่อทั้งการเรียนรู้และความจำ (อ่านเพิ่มได้จาก What is the function of the various brainwaves?) อย่างไรก็ตาม การปรับคลื่นสมองแตกต่างจากการบังคับให้เด็กนั่งสมาธิ เนื่องจากการนั่งสมาธิยังไม่เหมาะกับพฤติกรรมของเด็กที่ต้องการทำกิจกรรมที่ สนุก หากบังคับให้เด็กทำจะยิ่งทำให้เด็กเบื่อ ไม่ให้ความร่วมมือและไม่เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการในที่สุด
อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทุกคนที่มาดูงานโรงเรียนมักจะรู้สึกแปลกใจ คือ คุณครูทุกคนจะพูดกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่เบาและอ่อนโยน เพื่อสอนให้นักเรียนตั้งใจฟังมากขึ้น อีกทั้งเด็กๆ จะไม่รู้สืกว่าครูกำลังดุหรือว่าเขา จึงแสดงออกพฤติกรรมที่ดี ไม่ก้าวร้าว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต้องทำร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน ด้วย หากเด็กๆ กลับบ้านแล้วเจอผู้ปกครองดุ เสียงดังใส่ สิ่งที่คุณครูทำก็จะไม่เกิดผลต่อใดๆ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนานำผู้ปกครองเข้ามาเป็นส่วน หนึ่งของการจัดการเรียนการสอนด้วย เพื่อให้พ่อแม่ได้เข้าใจจริงๆ ว่าการเรียนการสอนทั้งหมดจะมีผลอย่างไรกับลูกของเขา และลูกๆ จะมีพัฒนาการอย่างไร เมื่อผู้ปกครองเข้าใจมากขึ้นก็จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็กมากขึ้นด้วย
2. หน่วยบูรณาการที่ใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (Problem Based Learning หรือ PBL) เป็น การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม (Active Learning) ตั้งแต่การคิด ริเริ่มและลงมือทำ โดยเน้นให้ผู้เรียนมองปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว ตั้งคำถามจากปัญหานั้นและค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบนี้จะสามารถพัฒนาทักษะที่เป็นปัญญาภายนอกเช่น การอ่าน การเขียน การนำเสนอ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประกอบอาชีพ ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
จาก การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เด็กๆ จะได้ตั้งคำถามและแก้ปัญหาในเรื่องที่ตัวเองสนใจหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ชุมชนของตัวเอง เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิดและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความมั่นใจให้เด็กๆ เพราะเด็กจะกล้าพูดและแสดงออกในสิ่งที่ตัวเองคิดจากข้อมูลที่ค้นคว้ามาด้วย ตัวเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ โดยไม่มีคุณครูดุว่าหรือตัดสินว่าสิ่งที่เด็กคิดนั้นถูกหรือผิด เพราะเมื่อเด็กมีโอกาสค้นคว้าเพิ่มเติม เด็กจะรู้เองว่าตัวเองคิดถูกหรือผิด ด้วยเหตุผลอะไร ซึ่งโดยรวมคุณครูจะต้องทำงานหนักขึ้น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็ดีกว่ารูปแบบเดิมๆ เช่นกัน เพราะเมื่อเด็กได้เรียนสิ่งที่ตัวเองอยากรู้ ได้ลงมือหาคำตอบด้วยตัวเองและสนุกกับมัน เด็กๆ ก็จะสามารถจำและเข้าใจเรื่องนั้นๆ ได้มากขึ้นด้วย
ยกตัวอย่างเช่น หน่วยการเรียนรู้ 'ข้าวมหัศจรรย์' สำหรับเด็กป. 1 ได้แบ่งประเด็นออกเป็น 'สิ่งที่รู้แล้ว' เช่น ข้าวมีประโยชน์ เป็นอาหารของคน และ 'สิ่งที่อยากรู้' เช่น ข้าวเกิดได้อย่างไร ทำไมต้องมีชาวนา ถ้าไม่กินข้าวเราจะกินอะไร จากคำถามเหล่านี้ เด็กๆ ก็จะหาข้อมูล วาดแผนภาพ นำมาเสนอหน้าชั้นเรียนให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง และผลงานที่มีสีสันสดใสของเด็กๆ จะถูกนำมาโชว์อยู่ทุกที่ในโรงเรียน เมื่อเดินเข้าไปในอาคารเรียนก็จะเห็นว่าผลงานของเด็กๆถูกติดไว้ทุกที่ และทำให้เด็กภูมิใจกับผลงานของพวกเขา


เมื่อ เด็กโตขึ้น คำถามในประเด็นต่างๆ ก็ยากและท้าทายมากขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เด็ก ม.2 ตั้งคำถามประเด็นเรื่องข้าวว่า “ปลูกข้าวอย่างไรให้ได้ผลผลิตเยอะที่สุดและไม่ใช้สารเคมี” คำถามดังกล่าวเกิดขึ้นจากปัญหาที่ผู้ปกครอง และคนในชุมชนกำลังเผชิญอยู่จริง เชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี และปัญหาหนี้สินจากการซื้อปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ ดังนั้น เด็กนักเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทดลองปลูกข้าวกันเอง และนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาได้จริงๆ
ถ้ามองในมุมมองทรัพยากรมนุษย์ ขององค์กรและประเทศชาติ ทักษะการคิด วิเคราะห์และความสามารถแก้ปัญหา ล้วนเป็นทักษะที่ทุกองค์กรต้องการเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วตลอดเวลา ดังนั้นการบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (Problem-based Learning, PBL) จึงเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ช่วยพัฒนาเด็กๆ ให้เติบโตขึ้นเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมได้
3. การพัฒนาครูผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community หรือ PLC) เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูของโรงเรียนต้นแบบที่นำนวัต กรรมการจัดการศึกษาแบบโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาไปใช้ โดยมีการจัดทำแผนการเรียนการสอนบนฐานข้อมูลออนไลน์ มีการถ่ายวิดีโอการสอนของครู นำมาดูและพิจารณาว่ามีอะไรที่ควรแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนบ้าง เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจของครูต่อสิ่งที่จะสอนให้เด็กๆ ทำให้ครูมีทักษะการจัดการเรียนการสอน มีความภาคภูมิใจและมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง

นอก จากนี้การจัดสรรเวลาสำหรับกิจกรรมต่างๆ ทางโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาก็ได้กำหนดตารางการเรียนให้ตรงตามความสนใจและความ พร้อมของเด็กๆ เช่น กิจกรรมจิตศึกษาและกิจกรรมเตรียมความพร้อมของเด็กจะอยู่ในช่วงเช้า กิจกรรม PBL ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย พูดคุยแลกเปลี่ยนกันจะอยู่ในช่วงบ่าย และมีกิจกรรมที่เด็กๆ ชอบเข้ามาแทรกระหว่างวัน เช่น การเล่นโยคะ เป็นต้น
อีก คำถามหนึ่งที่เราคิดว่าทุกคนคงสงสัยเช่นเดียวกัน คือ เมื่อน้องๆ เรียนจบชั้นม.3 แล้วต้องไปต่อที่โรงเรียนอื่น เขาจะสามารถปรับตัวได้ไหม? ซึ่งคุณครูก็ได้ให้คำตอบอย่างหนักแน่นว่า “ปรับตัวได้สิ น้องๆ โตมาด้วยการแก้ปัญหาตลอดเวลาอยู่แล้ว นี่ก็เป็นแค่อีกปัญหาในชีวิตที่เขาจะต้องหาวิธีแก้ให้ได้“
เมื่อ เขียนมาถึงจุดนี้แล้ว เราก็เริ่มมีความหวังแล้วว่าเด็กๆ ทุกคนในประเทศนี้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพได้ อย่างที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการจัดการศึกษาที่ พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสามารถทำได้จริง ด้วยงบประมาณที่ใช้บริหารจัดการต่ำกว่าโรงเรียนทั่วไปอีกด้วย
ตอนที่ 2 จากหนึ่งเป็นร้อยโรงเรียนต้นแบบ
จาก ที่ได้เล่าแล้วว่าโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา คือตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในการจัดการศึกษาที่สามารถพัฒนาความ เป็นมนุษย์และศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง และเด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทย โดยอาศัยการขยายนวัตกรรมการศึกษาจากโรงเรียนต้นแบบหนึ่งโรงเรียน ไปสู่โรงเรียนอีกนับร้อยที่กระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อเป็นต้นแบบ (Node) ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงอีกมากมาย จนเกิดเป็น Critical Mass ในที่สุด ทั้งนี้ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรครูผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community หรือ PLC) ที่ เป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูของโรงเรียนต้นแบบที่นำนวัต กรรมการศึกษาแบบนี้ไปใช้ เกิดการประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนตนเองมากที่สุด
กระบวนการขยายผลและพัฒนาโรงเรียนของรัฐให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในการปฏิรูปการจัดการศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ ดังนี้
1. กิจกรรม Open eye เปิด โอกาสให้ผู้บริหารและครูจากโรงเรียนต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงาน 1 วัน เพื่อให้ครูได้เห็นความสําเร็จของกระบวนการและการใช้นวัตกรรมการศึกษาทั้ง PBL (Problem Based Learning) จิตศึกษา และ PLC (Professional learning Community) และเห็นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ซึ่งจะจุดประกายให้ครูลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิธีสอนของตัวเองและนำนวัต กรรมการศึกษาทั้ง 3 อย่าง ไปใช้กับโรงเรียนตัวเอง โดยอาจจะเริ่มเพียงบางส่วนหรือทั้งระบบ
2. อบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครู หลักสูตร 2 วันสำหรับการเรียนรู้บางส่วนและหลักสูตร 5-10 วันสำหรับความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับนวัตกรรมต่างๆทั้งระบบ PBL (Problem Based Learning) จิตศึกษา และ PLC (Professional learning Community) ในระหว่างการอบรม แต่ละโรงเรียนได้ทำแผนกิจกรรมและแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL online สามารถดูตัวอย่างและติดตามได้ที่ link ด้านล่าง
โรงเรียนบ้านโค้งกระโดน https://sites.google.com/site/bkindbankhongkradon...
โรงเรียนบ้านปอพราน https://sites.google.com/site/bkindbanpopran/
โรงเรียนชมุชนดอนไพล https://sites.google.com/site/bkindchumchondonpai...
โรงเรียนบ้านโกรกลึก https://sites.google.com/site/bkindbankorkluk/

3. ติดตามผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อแต่ละโรงเรียนนํานวัตกรรมกลับไปใช้ โรงเรียนลําปลายมาศพัฒนาจะทำหน้าที่คอยติดตามผล และทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่าย PLC ประกอบด้วย
  • ทํา Lesson study สาธิตการสอนและถ่ายทําวีดีโอบันทึกการสอนของครูในทุกชั้นเรียนเพื่อให้ครูได้เรียนรู้จากการสอนมากขึ้น
  • จัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปีละ 2-4 ครั้ง และผ่านเครือข่าย PLC online เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และเพื่อเสริมสร้างพลังให้กับครู กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งล่าสุดจัดเมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ มีโรงเรียนมาเข้าร่วม 20 กว่าโรงเรียน มีผู้บริหารและครูเข้าร่วมกว่าร้อยคน (อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่)
  • จัด Conference ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อให้แต่ละโรงเรียนได้นําเสนอความสําเร็จ และสร้างการรับรู้ให้กับสังคม
ครู และผู้บริหารโรงเรียนที่ผ่านกระบวนการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ แสดงให้เราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ครูเปลี่ยนท่าทีเป็นการแสดงออกอย่างใจเย็น เป็นมิตรกับเด็กๆ มากขึ้น เด็กๆ ก็มีความสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้ มีความสุขกับการเรียน อยากมาโรงเรียน กล้าพูด กล้าตอบคำถาม กล้าแสดงออกความคิดและสื่อสารกับครูมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีพฤติกรรมเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้เด็กๆ ยังมีความรับผิดชอบต่อตนเองได้ดีขึ้นและส่งผลไปถึงครอบครัวอีกด้วย ทำให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มีการเชิญผู้ปกครองมาเป็นครูอาสาซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
นอก จากนี้ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยระบบการศึกษา IRES จัดทำโครงการร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 10 แห่ง ในการสร้างหลักสูตรวิชาชีพครูขึ้นใหม่ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูให้สามารถสอนได้อย่างมืออาชีพ โดยใช้โรงเรียนต้นแบบในเครือข่ายโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาเป็นสถานที่สังเกต การณ์ ฝึกสอน ร่วมเรียนรู้ เป็นการพัฒนาครูไปพร้อมกับการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบและพัฒนาให้โรงเรียนให้ เป็นองค์กรเรียนรู้วิชาชีพและเป็นฐานปฏิรูปการศึกษาของชาติ

ปัจจุบัน โมเดลของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาได้ขยายผลไปยังโรงเรียนรัฐบาลจำนวนทั้งสิ้น 60 โรงเรียน เป็นโรงเรียนต้นแบบ (Node) ที่พร้อมขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 10 โรงเรียน มีครูในเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพประมาณ 700 คน ครูทุกคนเปลี่ยนรูปแบบการสอน และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น
นี่คืออีก ก้าวสำคัญที่กำลังจะประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้ ต้องขอขอบคุณความมุ่งมั่นพยายามของครูวิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่ รวมไปถึงครูทุกคนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ที่กล้าลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง และจิตวิญญาณของความเป็นครูของโรงเรียนต้นแบบทุกโรงเรียนที่ต้องการสร้างการ ศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียมให้กับเด็กๆ
เราเชื่อว่าความกล้าหาญ และจิตวิญญาณความเป็นครูมีอยู่ในตัวคุณครูทุกคน ขอเพียงลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปการศึกษาก็จะเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องรอ...ไม่ต้องรอนโยบายจากภาครัฐ ไม่ต้องรอการปรับหลักสูตรหรือมาตรการใดๆ และจากร้อยโรงเรียนต้นแบบก็จะเพิ่มขึ้นเป็นล้านโรงเรียนที่นักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีความสุข
ความหวังที่เด็กทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ก็จะเป็นจริงได้ในไม่ช้า...
http://www.schoolofchangemakers.com/home/knowledge?knowledge_id=361

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

สรุปความรู้ของQuarter4 | โรงเรียนบ้านหนองดุม


วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

วันที่คุณครูได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่ใจดีปลัดกระทรวงและเลขาธิการกพฐ. | โรงเรียนบ้านประทาย

การเรียนที่เนันการลงมือปฏิบัติแบบบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL)
การสอนภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมและนิทาน
สอนคณิตที่เน้นกระบวนการ
สอนภาษาอังกฤษใช้ เกม เพลง story 
พร้อมพัฒนาปัญญาภายในผู้เรียนและครูด้วยจิตศึกษา ทั้งหมดทั้งมวลใช้ครูพัฒนาครูด้วย ชุมชนการเรียนของรู้วิชาชีพ (PLC)

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

ออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยผ่านวรรณกรรม | โรงเรียนชุมชนดอนไพล

คณะครูโรงเรียนชุมชนดอนไพล อบรมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยผ่านวรรณกรรม วันที่20-22. มีนาคม2559 ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศึกษาดูงาน | โรงเรียนบ้านประทาย

10-11 มีนาคม 59 ดร.สมหวัง พันธะลี ผอ.กลุ่มนิเทศฯ พร้อมทีมศึกษานิเทศก์.ผอ.ร.ร.และคุณครู จาก สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1จำนวน 39 คน ได้ร่วมเรียนรู้จิตศึกษา PBLและPLC ขอบคุณ ดร.มยุรี สารีบุตร ผอ.กลุ่มนิเทศฯสพป.ศก.4 นายมานิต สิทธิศร ศน.เชี่ยวชาญ นายสังคม อินทร์ขาว ผอ.โรงเรียนบ้านนาขนวน ที่ร่วมต้อนรับ และให้กำลังใจคุณครูโรงเรียนบ้านปะทาย

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนอนุบาลดำรงราชนุสรณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ | โรงเรียนทุ่งยาวคำโปรย

โรงเรียนอนุบาลดำรงราชนุสรณ์ ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจิตศึกษา ขบวนการPLC และAAR

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

เวทีสาธารณะ ThaiPBS | เครือข่ายโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา


เวทีสาธารณะ ตามมาดูรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่

 ทีมงานรายการเวทีสาธารณะ ตามมาดูรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ แม้จะใช้รูปแบบการสอนเดียวกันกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน แต่ที่นี่ โรงเรียนบ้านปะทาย จ.ศรีสะเกษ โรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ. มีความแตกต่างในรายละเอียดของพื้นที่ ข้อจำกัดในรูปแบบโรงเรียนของรัฐที่ต้องอิงหลักสูตรแกนกลาง แต่ก็สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆได้
โรงเรียนมีวิธีการสอนแบบไหน ที่ทำให้ครูและเด็กมีความสุขไปด้วยกัน เปลี่ยนวิถีครูที่เป็นครูตลอดช่วงชีวิต ให้พบความสุขในการสอนนักเรียนของเขา ติดตามได้ในเวทีสาธารณะ เร็วๆนี้ทางไทยพีบีเอส
 

PLC โรงเรียนบ้านปะทาย | ศรีสะเกษ

 
นักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2
เยี่ยมชมกิจกรรมและการจัดการเรียนการสอน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้และเสริมพลัง

การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้และเสริมพลัง | โรงเรียนบ้านปะทาย

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

จิตศึกษา | โรงเรียนบ้านนาขนวน

จิตศึกษาพี่ๆ ม.2 : เก็บ ปะ ติด คิดเห็นคุณค่า

โรงเรียนหนองสะพาน | จ.ระยอง

กิจกรรมพัฒนาปัญญาภายนอก ควบคู่พัฒนาปัญญาภายในโรงเรียนหนองสะพาน | จ.ระยอง

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

จิตศึกษา | โรงเรียนชุมชนดอนไพล จ.นครราชสีมา โครงการ BKIND

จิตศึกษา.ป.2 ห้องครูวิจิตรา
-ให้นักเรียนนั่ง เป็นวงกลมแล้วพาทำท่าประกอบเพลงกรรไกรไข่ผ้าไหม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มทำกิจกรรม
- ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม3คนแจกดินน้ำมัน และฟิวเจอร์บอร์ด
-ให้เด็กๆจินตนาการสถานที่ท่องเที่ยวที่เด็ก ๆอยากไป
-ให้เด็กๆอธิบายแต่ละกลุ่มว่าคือสถานที่ใด.เพราะอะไรถึงอยากไป...

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ฝึกฝนด้วย PBL | โรงเรียนบ้านปะทาย

การนำเสนอความงอกงาม

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน | โรงเรียนหนองสะพาน จ.ราชบุรี

พัฒนาปัญญาภายใน สร้างแรงบันดาลใจ เรียนรู้ไปด้วยกันอย่างมีส่วนร่วม ชื่นชมผลงานด้วยกัน

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

การเรียนรู้แบบ PBL | โรงเรียนบ้านปะทาย

เรียนรู้แลัวนำมาแลกเปลี่ยนเพื่อให้เห็นปัญหาและเห็นปัญญาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบ PBL


วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมปิดควอเตอร์ 3/2558 | โรงเรียนบ้านปะทาย

กิจกรรมปิดควอเตอร์ 3/2558 และวันเด็กปี 2559 ขอขอบคุณทุกๆความร่วมมือที่ร่วมสร้างความดีงาม

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป Quarter3/58 | โรงเรียนบ้านหนองดุม

ร้อยดวงใจเป็นหนึ่งเดียวในการปิด Quarter 3 ชุมชนของเราร่วมกันบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้แก่ลูกหลาน

กิจกรรมสรุปองค์ความรู้ Quarter3 | โรงเรียนบ้านนาขนวน


วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปองค์ความรู้Q3 | งอกนอกกะลาโรงเรียนบ้านตะเคียนราม‬

สรุปองค์ความรู้Q3 ของน้องๆอนุบาล1และอนุบาล2 สิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งQuarter3 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (PBL : Problem based learning) ผู้ปกครองร่วมกิจกรรมพร้อมชื่นชมความงอกงามของเด็กๆ